Tuesday, January 2, 2018

เทคนิคสวิงให้แน่นอน

เทคนิคสวิงให้แน่นอน
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของนักกอล์ฟมือใหม่ในขณะที่เริ่มเล่นกอล์ฟก็คือความไม่สม่ำเสมอของวงสวิง สิ่งที่พบก็คือบางวันสามารถตีลูกได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะที่บางวันก็ไม่สามารถตีลูกได้เลย สิ่งเหล่านี้มักจะทำให้นักกอล์ฟมือใหม่หรือแม้แต่มือเก่าบางท่านเกิดความท้อแท้ได้ วันนี้โปรน้ำผึ้ง  มีแนวทางการฝึกที่จะช่วยทำให้วงสวิงมีความถูกต้อง สม่ำเสมอและสามารถนำไปฝึกฝนได้อย่างต่อเนื่องมาฝาก

1.เริ่มต้นจากเลือกเหล็กกลางประมาณเหล็ก 7 หรือ 8 ก็ได้ จากนั้นจับกริพ เข้ายืนเซ็ท อัพให้ถูกต้อง จากตำแหน่งนี้จะเห็นว่าแขนทั้ง 2 ข้างและไม้กอล์ฟจะมีลักษณะเป็นรูปตัว Y
2.เริ่มการ take away อย่างช้าๆ จนกระทั่งเมื่อถึงตำแหน่งที่แขนซ้ายขนานกับพื้น แขนและไม้กอล์ฟจะต้องมีลักษณะของตัว L
3.จากนั้นหมุนตัวต่อไปจนถึงตำแหน่งสูงสุดของสวิง รูปตัว L ยังคงสภาพเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
4.เมื่อเริ่มดาวน์สวิง หมุนไหล่ลงมาช้าๆ แขนและข้อมือยังคงรักษารูปตัว L ไว้อย่างต่อเนื่องจนตำแหน่งมือผ่านเข้ามายังบริเวณหน้าขาด้านขวา
5.คลายข้อมือออกในขณะนำหน้าเหล็กเข้ากระทบลูก ทั้งนี้ตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะ impact แขนและเหล็กจะต้องกลับมาในรูปตัว Y อีกครั้ง
6.เมื่อหน้าไม้ผ่าน impact ไปแล้ว แขนทั้งสองและเหล็กจะเริ่มจัดรูปตัว L โดยเมื่อสวิงเคลื่อนที่ไปในตำแหน่งที่แขนขวาขนานพื้น ตัว L จะกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งและยังคงถูกรักษาไว้ในลักษณะนั้นจนจบสวิง

ทดลองนำไปฝึกบ่อยๆ นะคะ ทั้งนี้ขอแนะนำให้ฝึกในลักษณะปิดจังหวะหน้ากระจกเพื่อจัดท่าทางให้ถูกต้องและหมั่นทำซ้ำอย่างต่อเนื่องรับรองว่าวงสวิงจะมีความสม่ำเสมอและผลงานจะดีขึ้นด้วย

Monday, March 16, 2015

เทคนิคการตีเหล็กยาว และ แฟร์เวย์

เทคนิคการตีเหล็กยาวและแฟร์เวย์

มีนักกอล์ฟจำนวนไม่น้อยที่มีความสามารถในการตีเหล็กสั้นและเหล็กกลางได้ดี แต่ไม่สามารถตีเหล็กยาว (ตั้งแต่เหล็ก 5 ขึ้นไป) หรือหัวไม้แฟร์เวย์ได้ ซึ่งสาเหตุที่พบโดยส่วนมากมาจากวงสวิงของนักกอล์ฟเหล่านั้นที่มีลักษณะของการขึ้นไม้และลงไม้ในมุมที่ชันเกินไป 
   
เลดี้ ทิปส์ของเราฉบับนี้ โปรโบว์ ปิยธิดา สงนอก จะมาแนะนำการเล่นด้วยเหล็กยาวหรือการตีหัวไม้แฟร์เวย์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1.การยืนจรดลูกให้ยืนโดยให้น้ำหนักตัวทิ้งลงไปที่เท้าขวาให้มากกว่าเท้าซ้ายประมาณ 60%
2.ตำแหน่งลูกกอล์ฟให้ตั้งอยู่ค่อนไปทางเท้าซ้ายโดยให้ห่างจากส้นเท้าซ้ายประมาณ 2 นิ้วโดยให้ศีรษะอยู่หลังลูกกอล์ฟตลอดระยะเวลาแบ็คสวิงและดาวน์สวิง
3.การแบ็คสวิงโดยใช้ซีกซ้ายของร่างกายดันไม้ขึ้น พยายามให้หัวไม้ราบไปกับพื้นให้กว้างมากที่สุด ห้ามไม่ให้ใช้มือขวายกไม้ขึ้นเพราะจะทำให้วงสวิงชันและไหล่ไม่หมุน
4.การลงไม้ดาวน์สวิงต้องลงในแนวระนาบกับพื้น (ลงไม้ในลักษณะตีกวาดไปที่ลูก) โดยพยายามเหยียบเท้าข้างขวาให้นานกว่าปกติเล็กน้อยในขณะเข้าอิมแพ็ค ต้องไม่ยกเท้าขวาก่อนเข้าปะทะลูก

ลองฝึกกันดู การตีหัวไม้แฟร์เวย์หรือเหล็กยาวจะเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คุณคิด 

วิธีตีต่ำกว่า 100 สร้างพื้นฐานให้ดี ก่อนจะพัฒนาฝีมือ


วิธีตีต่ำกว่า 100 สร้างพื้นฐานให้ดี ก่อนจะพัฒนาฝีมือ


การเล่นกอล์ฟให้สนุก นอกจากจะตีแต่ละช็อตให้สวยงาม เราจำเป็นต้องฝึกทักษะวิธี
ทำคะแนน (หรือเรียกอีกอย่างคือวิธีทำให้ไม่เสียคะแนน) ซึ่งแบบทดสอบแรกสำหรับมือใหม่ทุกคนคือ ทำอย่างไรให้สกอร์ต่ำกว่าร้อย ซึ่งผมมีแนวคิดมาเสนอดังนี้
อันดับแรก  ต้องทำสองพัตต์ให้ได้อย่างน้อยเก้าหลุม ด้วยการหาโอกาสซ้อมพัตต์บ่อยๆ พัตต์เล่นที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ ขอให้ได้ซ้อมบ่อยๆ ก็แล้วกัน
อันดับต่อมา  ต้องซ้อมลูกสั้นระยะ 90 หลาลงมาให้ทีเดียวออน ออนใกล้ออนไกลไม่สำคัญขอให้ออน ด้วยการซ้อมเหล็กสั้นเหล็กเดียว (เช่น PW) หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ โดยตีลูกทั้งสามหรือสี่ถาด ด้วยเหล็กสั้นเหล็กเดียวทุกระยะ ตั้งแต่ 90, 80, ..., 10 หลา วนไปวนมา
อันดับสุดท้าย  ต้องตีลูกให้อยู่ในแฟร์เวย์โดยไม่ฉึก ท้อป แช้งค์ สไลด์ ฮุกแม้ระยะจะสั้นกว่ามาตรฐานสัก 20-40 หลาก็ไม่เป็นปัญหา ทำได้โดยเอาไดร์ฟเวอร์ ไม้สาม เหล็ก 3,4,5 เก็บไว้ที่บ้าน ไม่ต้องเอาไปออกรอบ ไม่ต้องเอาไปซ้อม 
แล้วซ้อมหัวไม้ห้าให้ได้ระยะ 150-180 หลา, 
เหล็ก 6 ระยะ 130-140,
เหล็ก 7 ระยะ 120-130, 
เหล็ก 8 ระยะ 110-120, 
เหล็ก 9 ระยะ 100-110 (หมายถึงเมื่อซ้อมไม้และเหล็กเหล่านี้ตกในช่วงระยะที่กำหนด ถือว่าใช้ได้แล้ว ไม่ต้องตีให้ได้ระยะสูงสุดทุกครั้ง เพราะเวลาออกรอบจะมีความเครียดเป็นตัวแปร จะทำให้เราฉึกหรือแช้งค์)
        โดยทุกไม้ที่กล่าวนี้ ให้ซ้อมด้วยการตีเบาๆ เท่านั้น ห้ามตีแรง (ข้อกำหนดนี้จะจบลงเมื่อคุณเบรคร้อยได้) เพราะหากตีเบาๆ แล้วยังตีให้ตรงไม่ได้ ยังตีระยะที่กล่าวมาไม่ได้ แสดงว่าวงของคุณผิดพลาดอย่างรุนแรง ต้องหาทางเปลี่ยนวงให้ถูกเบสิคก่อน

จากนั้นเมื่อไปออกรอบ
        
  หากเป็นพาร์สามที่ระยะเกิน 140 หลาให้หวังทำสองออน โดยใช้แค่เหล็กเจ็ดหรือแปดตีไปตรงกลางทาง แล้วค่อยใช้ PW ชิพขึ้นไปออน ทำสองพัตต์
        
 หากเป็นพาร์สี่ระยะเกิน 320 หลาให้หวังทำสามออน โดยตีไม้ห้าเบาๆ ไปกลางแฟร์เวย์ ตามไปซ้ำด้วยเหล็กเจ็ดหรือแปด แล้วขึ้นกรีนด้วย PW ไปพัตต์สองหรือสามที และ
        
 หากเป็นพาร์ห้าระยะเกิน 450 หลาให้หวังทำสี่ออน ด้วยหัวไม้ห้า เหล็กหก และเหล็กเจ็ด (ตีเบาๆ ท่องไว้) ขึ้นด้วย PW และสองทีด้วยพัตต์เตอร์
         เมื่อเผชิญภาวะกดดัน เช่นพาร์สามระยะ 140 หลาพอดี ขอให้ท่องไว้ว่า ตีเบาๆ ตีเบาๆ เพราะหากตีสั้นไป 20 หลาเรายังมีสิทธิ์ไปซ้ำด้วย PW ทำสองออนได้ แต่หากตกน้ำหรือฉึก ก็คงไม่พ้นสามออนสี่ออน และให้คิดทำนองเดียวกันในหลุมพาร์สี่พาร์ห้า ส่วนหากตีลูกตกทรายข้างกรีน ให้ตีขึ้นมาด้วย PW โดยคิดว่าทรายก็เหมือนหญ้าอ่อน ขอให้ตีขึ้นมาออนก็ใช้ได้ไม่ว่าจะใกล้หรือไกลหลุม
     
ลองคำนวณดูว่า หากเราทำสองออนในพาร์สามทุกหลุม สามออนในพาร์สี่ทุกหลุม สี่ออนในพาร์ห้าทุกหลุม และสองพัตต์เก้าหลุม สามพัตต์เก้าหลุม (2x4 + 3x10 + 4x4 + 2*9 + 3*9) เราจะทำคะแนนได้ 99 !
    
 จะเห็นได้ว่านี่คือมาตรฐานขั้นต่ำที่คนเล่นกอล์ฟทุกคนควรทำได้ ซึ่งหัวใจของการเล่นสูตรนี้คือ ต้องไม่ตีลูกเข้าป่าตกน้ำ (ตีเบาๆ ทุกช็อต) และลูกสั้นในระยะ 90 หลาลงมาต้องออนให้ได้ (ลองอ่านซ้ำทั้งหมดอีกครั้ง)
     
 หลังจากเบรคร้อยได้แล้ว ค่อยมาสนใจเพิ่มระยะเหล็กให้ได้มาตรฐาน และมาสนใจตีไดร์ฟเวอร์ให้ได้ เพราะหากเราไม่รู้วิธีตีต่ำกว่าร้อย ต่อให้เราตีไดร์ฟเวอร์ได้ดี ตีเหล็กได้ไกล แต่ออกเกินร้อยทุกที เราจะหาความสุขในการออกรอบได้ยากเต็มที


Sunday, March 15, 2015

เทคนิคการลดสกอร์.....ของโปรเชาว์

เทคนิคการลดสกอร์.....ของโปรเชาว์


ถ้าจะแบ่งผู้เล่นกอล์ฟตามกลุ่มระดับฝีมือต่างๆ กันแล้ว น่าจะได้ดังนี้ 
      
 
กลุ่มที่ 1: ผู้ที่ผ่านการฝึกหัดใหม่ แล้วออกรอบยังไม่ชำนาญ สกอร์เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 120 - 140 
       
เป้าหมาย : ลดสกอร์ให้เหลือประมาณ 100 -110 ถ้าคิดให้ง่ายๆ ว่าแต่ละหลุมให้เกินได้หลุมละ 2 สโตรคเฉพาะพาร์ที่ตั้งไว้ คือ 108 
       ประเมิน : ผู้เล่นที่อยู่ในระดับนี้ แสดงว่ายังมีความไม่แน่นอนของการตี , การชิพและการพัตต์ เพราะถ้ามีความแน่นอนในการเล่นแล้ว ถึงแม้ว่าจะตีไม่ไกล ก็จะสามารถทำสกอร์ได้ดีกว่านั้นได้
        ยกตัวอย่างพาร์ 4 ระยะ 400 หลา ถ้าเป็นผู้เล่นที่ยังตีไม่ไกล เอาเหล็ก 5 มาตีบนที ได้ระยะ 130 หลา แล้วเอาเหล็ก 7 มาตี 2 ครั้ง แต่ละครั้งได้ระยะ 110 หลา รวม 3 ครั้ง แล้วได้ระยะ 350 หลา เหลือระยะอีก 50 หลา เอาพิชชิ่งเวดจ์มาตีออน พัตต์อีก 2 ครั้ง รวมแล้วได้สกอร์ 6 การตีได้ 6 เท่ากับเกินหลุมนั้น 2 สโตรค ด้วยศักยกรรมที่ตีถ้าสามารถที่จะทำเกินหลุมละ 2 สโตรคได้ 18 หลุม เกิน 36 เมื่อเอาไปรวมกับ 72 แล้วจะได้ 108 แต้ม
        การที่ตีแล้วสกอร์เกินไปถึง 120 - 140 ได้นั้น แสดงว่าไม่สามารถตีได้ตรงและไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งการเล่นลูกสั้นต่ำกว่า 100 หลา รวมทั้งการพัตต์ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ คือ 1 ออน 2 พัตต์ได้ อาจจะมี 2 หรือ 3 ออน หรือทำ 3-4 พัตต์ 

        
แนวการพัฒนาอย่างง่ายโดยที่ยังไม่ต้องไปสนใจการดีให้ไกลด้วยเหล็กยาว หรือหัวไม้ให้เสียเวลา 

1. ฝึกซ้อมลูกสั้นที่ต่ำกว่า 100 หลาลงมาให้แน่นอนด้วย พิชชิ่งเวดจ์ เหล็กเดียวโดยอยู่ตรงไหนต้องสามารถตีขึ้นไปออนกรีนให้ได้ 
2. 
ฝึกซ้อมลูกสั้นรอบกรีนด้วย พิชชิ่งเวดจ์ และ เเซนเวดจ์ เช่น ชิพ พัตต์ ระเบิดทรายให้ชำนาญ ให้สามารถทำครั้งเดียวให้ออนไม่ให้ผิดพลาด หรือทำให้ใกล้หลุมได้ยิ่งดี
3. ฝึกซ้อมการพัตต์ให้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องลงหลุม ไม่ว่าอยู่ตรงไหนของกรีน โดยพัตต์ไกลให้มาใกล้หลุมให้มากที่สุด และเมื่อใกล้หลุมแล้วต้องพัตต์ให้ลง 
4. ฝึกตีเหล็ก 7 บนพื้น ให้ชำนาญได้ระยะประมาณ 100 - 120 หลา ให้สม่ำเสมอยังไม่เน้นเรื่องไกล 
5. ฝึกตีเหล็ก 5 บนที ให้ชำนาญ ควรได้ระยะประมาณ 130 - 150 หลา ไม่เน้นไกลกว่านี้ 

       
ให้ฝึกซ้อมแค่ 5 ข้อนี้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกอย่างอื่น รับรองว่าสกอร์จะลดลงมาได้ไม่เกิน 110 อย่างแน่นอน 

  

      กลุ่มที่ 2: ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนซ้อมมาบ้างพอสมควรแต่ยังไม่มากนัก สกอร์เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 100 - 120 
     เป้าหมาย : ต้องการให้สกอร์ลดเหลือมาอยู่ 90 หมายถึงว่า พาร์ที่เป้าหมายตั้งไว้คือ 90 ไม่ใช่ 72 นั่นหมายว่าแต่ละหลุมตั้งเป้าหมายว่าโบกี้ทุกหลุม 
      ประเมิน : ผู้เล่นที่อยู่ในระดับนี้ อยู่ในระดับของการพัฒนา อาจจะยังมีความไม่แน่นอนของการตี แต่ก็พยายามที่จะตี โดยเฉพาะการทีช็อคเพราะอาจจะนำเครื่องทุ่นแรง เช่น  หัวไม้มาใช้ตลอดของการตีทั้งบนแท่นตั้งตี และบนแฟรเวย์ ทำให้มีความไม่แน่นอนในการเล่น
       สกอร์อาจดี หรือเสียเป็นหลุม ระยะอาจจะได้ค่อนข้างดีพอสมควร แต่ยังไม่แน่นอน และตรงทิศทาง หรืออาจจะมีความไม่สมบูรณ์ของช็อตในการตี เนื่องจากมีความผิดปกติในสวิงที่ตีอยู่
      ในหนึ่งรอบอาจมีสกอร์ได้พาร์ 2 - 3 หลุม และมีดับเบิ้ลโบกี้ หรือทริปปี้โบกี้ หรือดับเบิ้ลพาร์2-3 หลุม สอดแทรกอยู่
      ฉะนั้นการที่ตีและสกอร์ได้ 90 ได้นั้น จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีการตีและการเล่น หรือความคิดเสียใหม่ ก็ยากที่จะทำให้สกอร์ออกมาตีได้ 
แนวการพัฒนาอย่างง่าย ๆ 

1. ฝึกซ้อมลูกสั้นที่ต่ำกว่า 100 หลาลงมาให้แน่นอนด้วย ฟิชชิ่งเวดจ์ เหล็กเดียวอยู่ตรงไหนต้องสามารถตีขึ้นไปออนกรีนให้ได้ 
2. ฝึกซ้อมลูกสั้นรอบกรีนด้วย ฟิชชิ่งเวดจ์และแซนเวดจ์ เช่นชิพ พัตต์ ระเบิดทรายให้ชำนาญ ให้สามารถทำครั้งเดียวให้ออนไม่ให้ผิดพลาด หรือทำให้ใกล้หลุมได้ยิ่งดี
3. ฝึกซ้อมการพัตต์ให้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องลงหลุม ไม่ว่าอยู่ตรงไหนของกรีน โดยพัตต์ไกลให้มาใกล้หลุมให้มากที่สุดและเมื่อใกล้หลุมแล้วต้องพัตต์ให้ลง 
4. ฝึกตีเหล็กทุกเบอร์บนพื้น ให้ชำนาญ ให้สม่ำเสมอ ให้รู้ระยะ ยังไม่เน้นเรื่องไกล 
5. ฝึกตีเหล็กยาวและหัวไม้ 5 หรือ 3 บนที ให้ชำนาญ ไม่เน้นเรื่องไกล 
6. 
เมื่อออกรอบให้หาอุปกรณ์ที่มั่นใจที่สุดในการทีออฟ ถ้าจะเน้นเรื่องสกอร์ ควรจะต้องเอาชนะใจตัวเองให้ได้ การเล่นไม่จำเป็นต้องมุ่งเป้าหมายให้ได้พาร์ตามสนามเพราะพาร์ของเราคือสกอร์เกิน 1 สโตรค 
7. หาโปรเป็นที่ปรึกษาปรับวงสวิง ซึ่งจะเป็นวิธีการพัฒนาที่ง่ายและเร็วที่สุด แต่อาจจะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น 
ใช้แนวทางการฝึกซ้อม 7 ข้อนี้ รับรองว่าสกอร์จะลดลงมาตีได้ไม่เกิน 90 แน่นอน  

Sunday, January 5, 2014

เคล็ดลับเด็ด ๆ ในการเล่นกอล์ฟให้สนุก

เคล็ดลับเด็ด ๆ ในการเล่นกอล์ฟให้สนุก
 


         เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้การเล่นกอล์ฟสนุกมากขึ้นถ้า สามารถทำแล้วเกิดผล ตามที่ได้วางแผนไว้ ชักธงออก กับปักธงไว้ จะเลือกอย่างไร ในการชิพ ข้างกรีน คุณสามารถเลือกว่าจะชักธงออกหรือไม่ก็ได้ โดยไม่ผิดกฎ มีข้อแนะนำดังนี้  หากคุณชิพลงเนินให้ปักธงไว้ เพราะหากชนธง ก็จะถูกชะงักด้วยก้านธง  แต่ถ้าขึ้นเนินขอให้ชักธงออก เพราะขอบหลุมด้านหลังจะสูงกว่าขอบหลุมด้านหน้าเปรียบเสมือนกำแพง มารองรับลูกไว้ พอชนขอบลูกจะลงทันที แต่ถ้าปักธงไว้ลูกชนก้านธง จะกระเด็นออกทันทีเช่นกัน
            จะวางลูกกอล์ฟไว้ตรงไหนดีในการตีแต่ละช็อตตามกฎหัวแม่มือบอกไว้ว่า
เหล็ก สั้น(8,9,PW,SW)เอาลูกไว้กึ่งกลางเท้าทั้งสอง
เหล็กกลาง(๕, ๖, ๗)วางไว้ทางซ้าย ๒ นิ้ว จาก กึ่งกลาง

เหล็กยาว (๒, ๓, ๔) และแฟร์เวย์วูด วางไว้ห่าง ๑ นิ้ว จากส้นเท้าซ้าย
สำหรับไดร์ฟ เวอร์ ให้ตรงส้นเท้าซ้าย เพื่อให้หน้าไม้กระทบเป็นแบบ Top spin ลูกจะวิ่งไกลขึ้น
            

ขยับนิ้วเมื่อรู้สึกเกร็ง 
เมื่อจับกริพนิ่ง ๆ นาน ๆ จะเกิดอาการเกร็ง เพราะการรักษา"ชิ้นเดียว" (ONE PIECE) เป็นเวลานาน การขยับนิ้ว ขณะจัดท่าก่อนที่จะจรดลูก จะช่วยลด อาการเครียดได้ ลองสังเกต โปร.ชื่อดังเซอจิโอ กราเซีย จะขยับนิ้ว หรือขยับการจับกริพ เพื่อ ผ่อนคลายอาการเกร็ง การเคลื่อนไหว เล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ จะทำให้มีวงสวิงนุ่มนวลขึ้น
           

เมื่อต้องการความแม่นยำไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำหนักระยะสั้น ๆ
ที่ต้องการความแม่นยำมาก ๆ เช่น ๗๐ - ๘๐ หลา ให้น้ำหนักอยู่เท้าซ้ายมากกว่าเล็กน้อย จะทำให้การลงไม้ หนักแน่นและแม่นยำ ไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำหนัก เน้นการลงไม้ให้เด็ดขาดก็พอ เพราะระยะแค่ นี้ต้องการความแม่นยำเท่านั้น
           

 การตีหัวไม้แฟร์เวย์ ให้ได้ระยะและทิศทางตีด้วยสวิงที่นุ่มนวลเหมือนปกติ เพราะ หากตีแรงวงสวิงจะหลุดจากระนาบ(plane) ขาซ้ายจะเหยียดด้วยความแรงของไม้จะพาน้ำหนักตัวไปด้วย ฉะนั้นรักษาเข่าซ้ายให้หยุ่นเข้าไว้ ตีด้วยวงปกติ ให้หน้าไม้ทำงานเองไม่ต้อง เพิ่มพลังเข้าไป
            การหา Tempo ของตัวเองนักกอล์ฟส่วนใหญ่จะสวิงด้วยความแรง โดยไม่คำนึง ถึงความเสมอต้นเสมอปลายในการสวิง มีวิธีการฝึก Tempo ดังนี้ จรดลูกอย่างปกติ ยกไม้ขึ้น ๖ นิ้ว จากลูกขยับไม้ไปข้างหน้า ๒ ฟุต ตีลูกที่วางอยู่ปกติ ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง คุณจะได้จังหวะ ของคุณ ให้รักษา Tempo ของคุณตรงนี้ ในการตีทุกครั้งให้คงที่และเหมือนเดิมทุกประการ
            เมื่อจุดผ่อนปรนมิใช่ผ่อนปรน "
รู้กฎลดสกอร์

" ยังคงใช้ได้เสมอ อย่างกรณีที่ลูก ตกอยู่บนถนน โล่งๆ หรือรอยล้อรถ ที่คุณมีสิทธิใช้การหย่อนลูกได้และไม่เสียแต้มปรับโดย หย่อนลูกได้หนึ่งตามยาวไม้ และไม่ใกล้หลุม แต่ถ้าคุณเห็นว่าหย่อนลูกแล้วลูกไปตกในไล ที่ไม่ ดี หรือหญ้าสูง คุณควรเลือกเล่น ณ จุดที่ลูกตกเลยจะดีกว่า ฉะนั้นก่อนจะเลือกวิธีหย่อนลูกต้อง ดูให้ดี เพราะเลือกไปแล้วกลับลำไม่ได้
           

 อย่าวิเคราะห์วงสวิงของเพื่อนร่วมก๊วน
นักกอล์ฟวันหยุด มักวิเคราะห์วงสวิงของ พรรค พวกว่าผิดโน้น ผิดนี่ นั่นคือหลุมที่ทำให้ท่านตกลงไป เพราะจิตจะเก็บเอามาคิด ฉะนั้น
จงอยู่กับเกมส์ของท่าน อย่าสนใจวงสวิงของคนอื่น
แต่ถ้าท่านดู T.V. แล้วลอกเลียน แบบของ Tiger Woods ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
           

อย่ายอมแพ้ง่าย ๆ
เมื่อเล่น Match Playในการเล่น Match play (หลุมต่อหลุม) จำไว้ว่า อย่ายอมง่าย ๆ เมื่อเพลี่ยงพล้ำ เช่น ลูกของท่านเข้าป่า คู่ต่อสู้อยู่กลางแฟร์เวย์ จงตั้ง ใจที่จะรักษาโบกี้ ต้องพยายามขึ้นกรีน พัตต์ พาร์ ให้ได้ ท่านจะบีบให้คู่ต่อสู้ต้องทำ พาร์จึงจะ ชนะท่าน ดังนั้นจงเล่นเกมส์ของท่าน ไม่ใช่เล่นกับคู่ต่อสู้
           

เล่นอย่างสุขุม
และอนุรักษ์ จาก ที-ออฟ แต่ดุดันเมื่ออยู่รอบกรีนหลักการเล่นกอล์ฟ ที่ดีนั้น เมื่อ ที-ออฟ ต้องรักษาลูกให้อยู่ในการเล่นตลอดเวลา การใช้ไม้ ๓ ไดร์ฟ คือการเล่น ที่ฉลาดวิธีหนึ่งเพราะควบคุมได้ง่าย แต่เมื่ออยู่รอบๆ กรีน ต้องเล่นแบบรุก เพื่อให้ลูกใกล้หลุม ที่สุด จะรู้สึกว่าวิธีการเล่นแบบนี้ เป็นที่น่ากลัวสำหรับคู่ต่อสู้ทุกคน
           

การจับไม้ถูกต้อง
เป็นการเริ่มต้นที่ดีปัญหานักกอล์ฟส่วนใหญ่ คือการจรดลูกห่าง ตัวมากเกินไป เป็นการเอื้อมตี ทำให้ขาดพลัง และการรักษาระนาบยาก ตำแหน่งที่ถูกต้อง คือ มือทั้งสองจะอยู่ใต้คาง ทดลองแขวนสร้อยคอ ที่มีเหรียญห้อยอยู่ ให้เหรียญที่ห้อยอยู่เหนือมือ หรือมีวิธีการตรวจสอบอีกอย่างหนึ่ง คือ จับไม้จรดลูกธรรมดาแล้วยกมือขวาออก ปล่อยมือขวา ให้ห้อยลงมา ถ้ามือขวายังแตะที่เดิมอยู่แสดงว่าการจับถูกต้อง
          

 การยืนจรดลูก
สำหรับนักกอล์ฟสูงอายุ ถ้าท่านมีขีดจำกัดในการหมุนตัวเนื่องจาก ร่างกายไม่ยืดหยุ่นหรือเพราะสูงอายุหมุนตัวยากลำบาก ให้จัดระเบียบท่าทางโดยเปิดเท้า (เท้า ขวาสูงกว่าเท้าซ้าย) ให้แนวปลายเท้าชี้ไปทางซ้ายของเป้า แต่ไหล่ต้องตั้งฉากกับแนวเล็ง เพื่อ ความแม่นยำในการสวิง คุณจะพบว่าการสวิง จะเป็นอิสระจากการหมุนตัวมากขึ้น ตีได้สบาย โดยไม่ต้องหมุนตัวมาก แถมตีได้ตรงอีกด้วย
            

การเล่นให้เสียหายน้อยที่สุด
เมื่อ "วงหลุด" บางครั้ง บางวัน คุณอาจจะหลุดขึ้นมา เฉย ๆ ตีเร็ว เทมโป ไม่ดี เหล็กตีไม่ได้ไม้ตีไม่ดี วิธีแก้ที่เร็วที่สุด ให้ลองใช้ไม้ที่ยาวกว่าปกติ ๑ เบอร์ เช่น คุณตี ๑๒๐ หลา ปกติใช้เหล็ก ๙ คุณเปลี่ยนใช้เหล็ก ๘ แล้วตีช้าๆ บนผ่ามือนุ่ม ๆ และรักษาสมดุลของร่างกายไว้ คุณก็รักษาสกอร์ได้โดยไม่หลุดมาก
            

การเล่นลูกบนพื้นโล้นไม่มีหญ้า เมื่อลูกตกอยู่ที่เกลี้ยงไม่มีหญ้า ขอให้ยืดตัวสูงขึ้น เพื่อให้วงสวิงชันขึ้น ยืนจัดท่าทางให้น้ำหนักอยู่บนเท้าซ้ายมากกว่า แล้วสวิงปกติ หน้าไม้จะกระทบลูกก่อนกระทบพื้น ลูกจะวิ่งมากขึ้น แก้ปัญหาได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ            การ "แข็ง" กับช็อตเด็ดการขึ้นกรีนสวิงของพาร์ ๓ หรือขึ้นช็อต ๓ ของพาร์ ๕ ด้วยระยะเหล็กที่มั่นใจที่สุด ถือเป็นช็อตเด็ดประจำวัน  อย่าตั้งใจจนเกร็ง แม้ท่านจะลงไม้อย่างหนักแน่นแต่ลูกอาจจะวิ่งตรงไปซ้าย-ขวา สาเหตุเนื่องจาก ขณะจรดลูกท่านคิด...จะตีให้สุดสวย ทำให้จับกริพแน่นขึ้นโดยไม่รู้ตัว ขณะลงไม้ พยายามส่งไม้ยังเป้าหมาย ทำให้ช่วงล่างไม่หมุนตาม  ลูกก็ไม่เข้าเป้า ที่เขาเรียกกันว่า "แข็ง" นั่นเอง วิธีการแก้ง่ายๆ คือ ผ่อนคลาย จับกริพ เบาๆ ปล่อยให้ร่างกายหมุนไปตามปกติ จบวงสวิงด้วยการ หันสะโพกเข้าหาเป้าหมาย แก้ได้ แน่นอน            การแก้วงหลุดในสนาม
ในการเล่นกอล์ฟคงมีสักวันที่อยู่ ๆ ก็ "off" ไปเฉย ๆ ท่าน ต้องทำอย่างไรอย่างหนึ่ง ให้วงกลับมาเร็วที่สุด มีคำแนะนำ คือให้สงบสติอารมณ์สักครู่แล้วออกจากการเล่นชั่วขณะ ใช้ไม้หรือเหล็ก สวิงสุดแรง ๘ - ๑๐ ครั้ง แล้วลดความแรงของการสวิงลง เหลือ ๗๕% จนท่านรู้สึกว่าท่านสวิงช้าลง แค่นั้นฟอร์มก็กลับมาอย่างเหลือเชื่อ
            หลังแข็งเป็นอุปสรรคของการสวิงถ้ารู้สึกกล้ามเนื้อหลังเริ่มแข็ง เครียด ทำให้ระยะ ในการตีลดลง รวมถึงความแม่นยำด้วย ฉะนั้นระหว่างหลุมขอให้ยืดกล้ามเนื้อหลังด้วยวิธีง่าย ๆ จับไดร์ฟเวอร์ข้างละมือชูไม้สูงสุด แล้วหงายไปข้างหลังจนสุดเหนือศีรษะ ทำหลาย ๆครั้งเท่านี้ หลังก็จะผ่อนคลาย ตีได้ระยะและแม่นยำเหมือนเดิม
            

การใช้ Fair way wood ในทรายกลางแฟร์เวย์ ประการแรกต้องมั่นใจว่าลูกอยู่ ในตำแหน่งที่ดี ขอบบังเกอร์ไม่สูง  ให้จับไม้ต่ำเล็กน้อย เพื่อความมั่นคงและง่ายต่อการควบคุม สวิงโดยให้ช่วงล่างนิ่ง ไม่ต้องเกร็งจับกริพเบา ๆ ตีให้ผ่านลูก ให้หน้าไม้ทำงานเอง ลูกก็จะลอย ข้ามบังเกอร์ ได้ระยะที่ต้องการ            กำหนดเป้าสำรองทุกครั้งที่อยู่ในสนามซ้อม ในการสนามซ้อมให้ปัก ที ๑ อัน ใน แนวเป้าหมายห่างจากลูกที่จะตีห่าง ๑ - ๒ ฟุต ในการตีทุกครั้งให้ตีลูกผ่านที ที่ปักไว้เมื่อออก รอบ ให้หาจุด เล็งสำรอง เช่นใบไม้ รอยไดวอท ฯลฯ ทำหน้าที่เหมือนทีในสนามฝึกหัดของเรา จะช่วยในการเล็งได้เป็นอย่างดี
            


การทำแต้มให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วนักกอล์ฟที่เล่นมานานๆ จะรู้ว่าการที่จะลดแต้ม ให้เร็วที่สุดนั้น ลูกสั้นต้องดี พัตต์ต้องแม่นยำ ฯลฯ แต่มีวิธีที่ง่ายกว่า คือ ตีลูกให้อยู่ในแฟร์เวย์ ให้ลูกอยู่ในการเล่นไว้ และเมื่อขึ้นกรีนทำ ๒ พัตต์ ก็ให้ได้ แค่นี้
จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายกว่าและ การทำ ๒ พัตต์ นั้นต้องคำนวณระยะที่ถูกต้องในการพัตต์ เพราะน้ำหนักในการพัตต์สำคัญกว่า ไล เพื่อทำ ๒ พัตต์
           ทำให้ Tempo คืนมา ถ้าเกิดการ "หลุด" ขึ้นมาอย่างกระทันหัน ลูกวิ่งไปอย่างไม่ มีทิศทาง ให้ลองฝึกด้วยการนับ "หนึ่ง-สอง" นับ หนึ่ง เมื่อขึ้นไม้ และนับ "สอง" เมื่อตีลงมา กระทบลูก ลองฝึกอย่างนี้ Tempo จะกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว
          

 การตีให้ไกล ลากไม้ยาวเพื่อเพิ่มรัศมีนักกอล์ฟหลายคน คิดว่าการลากไม้ยาว เพื่อ เพิ่ม รัศมีของวงสวิงทำให้ตีได้ไกลขึ้น ก็มีส่วนถูก แต่การทำให้วงสวิงกว้าง จะต้องคำนึงให้ดี เพราะการเหยียดแขนหรือกางแขน ไปในแนวราบจะเกิดการเซ และสูญเสียพลัง ดังนั้นวิธีที่ดี ที่สุดคือ รักษาแขนซ้ายให้ตึง และรักษามือทั้งสองให้ห่างจากหู เมื่อขึ้นไม้ถึงจุดสูงสุดวงสวิงก็จะกว้างโดยอัตโนมัติ              รักษาศีรษะอยู่หลังลูกเมื่อไม้กระทบลูก สำหรับช็อตที่มั่นคง  จงพยายามมองเห็นหน้าไม้กระทบลูก ขณะที่ศีรษะอยู่หลังลูกเท่านั้น เพราะการหมุนตัวจะทำให้ศีรษะเงยขึ้น  เพื่อการลงหน้าไม้ที่สมบูรณ์ ไม่ต้องกดหน้าอยู่กับที่ หลังจากไม้กระทบลูกแล้ว ดังนั้น โปร.ที่สอน ให้ลูกศิษย์ กดหน้านิ่ง...อาจจะมีส่วนไม่ถูกทั้งหมด ขอให้หน้านิ่งขณะไม้กระทบลูกเท่านั้น ก็เกินพอแล้ว
           ตอนจบวงสวิง

ฟ้องว่าทำอะไรผิดเป็นการตรวจสอบอย่างดี เมื่อจบวงสวิง หากตัวของ ท่านเซมาข้างหลัง แสดงว่าการถ่ายน้ำหนักไม่ดี ถ้าเซไปตามลูกแสดงว่า ยืนจรดลูกไกลเกินไป ถ้าถลาไปข้างหน้าแสดงว่าตัวคุณโยกเยก เวลาตีลูกหรือ ตีลูกแรงเกินไป ดังนั้นจงจบวงสวิงด้วย สมดุลในขณะซ้อม ก็จะช่วยทุกสิ่งทุกอย่างได้
           

การเล่นลูกเมื่ออยู่ในพื้นเอียงมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นหรือลงเขา ขอให้จำไว้ว่า "การสมดุล" เป็นเรื่องที่ต้องระวังที่สุดระหว่างการสวิง ต้องรักษาให้มั่นคงออกแรงแค่ ๘๐% แล้วควบคุมความเร็วของไม้ไว้ให้คงที่อย่าหวังผลเลิศ การตี ๑๐๐ % ในพื้นที่เอียง จะผิดพลาด ง่ายเสมอ และจะมีบทลงโทษรุนแรง
           การเรียนรู้ การสมดุลที่ดี สามารถฝึกได้โดยวางเท้าขวาหลังเท้าซ้ายพอประมาณ แล้ววางลูกกอล์ฟข้างหน้า ตีลูกด้วยเหล็ก ๗ เพิ่มความเร็วและความแรงที่ละน้อย จะเป็นการ อุ่นเครื่องของคุณ และเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายอีกด้วย เมื่อทดลองหลายๆ ครั้ง จนรู้สึกได้ ด้วยตัวเองถึงความสมดุล ก็ถือว่าท่านพร้อมที่จะออกรอบแล้ว
           ในสนามซ้อมจงหาจุดพอดีของตัวเอง ไม่มีเบสิกหรือวงสวิงใด ๆ เหมือนกันของนักกอล์ฟทั้งอาชีพหรือสมัครเล่น ตั้งแต่นักกอล์ฟแฮนดิแคป ๐ จนถึง ๒๔ แต่ละคน มีวงสวิง แตกต่างกัน ดังนั้นในขณะฝึกซ้อม ขอให้ทดลองจัดท่าทาง Tempo หรือการวางลูก ท่านอาจจะพบว่า ท่าที่เหมาะสมจะสวิงอย่างไร จึงพอดีกับตัวเอง ทดลองหาจุดพอดีเอาเองคุณจะเล่นกอล์ฟดีขึ้น
           ก้าวตามทิศทางที่ตีลูกออกไป เมื่อท่านประสบปัญหา เซถอยหลังเมื่อตีลูกไปแล้ว แสดงว่าท่านไม่ถ่ายน้ำหนัก หรือการถ่ายน้ำหนักกลับกัน ทำให้ขาดความแม่นยำและลดระยะ ด้วย วิธีแก้ในสนามไดร์ฟ คือ ทุกครั้งที่ตีลูกออกไป ให้ก้าวเท้าขวาตาม เหมือนกับว่า ท่านได้ ถ่ายน้ำหนักไปที่เท้าซ้ายแล้วจึงก้าวเท้าตามลูกออกไป เมื่อฝึกจนได้ที่แล้ว ท่านจะเรียนรู้การ ถ่ายน้ำหนักที่ดีต่อไป
          
 บทสรุป กอล์ฟเป็นกีฬาที่ต้องการการฝึกซ้อม แม้ว่าท่านจะรู้ทฤษฎี รวมทั้งเทคนิค ต่าง ๆ ดีแล้ว แต่หากไม่ซ้อม ขอรับรองว่า ไม่มีโอกาสเก่งเลย แต่ถ้าหากท่านซ้อม โดยไม่รู้ หลักการก็เหมือนกับตาบอดคลำช้าง ไปไม่ถูกทางเช่นกัน ฉะนั้นหากต้องการเล่นกอล์ฟให้ดี ขอให้ท่านศึกษาจากหนังสือ หรือให้ โปร.แนะนำ สิ่งที่ถูกต้อง แล้วนำมา ฝึก....ฝึก....จนสวิง ของ ท่านเป็นอัตโนมัติ กอล์ฟจะเป็นกีฬาที่ท้าทายมากที่สุด และไม่ยากอย่างที่คิด แต่อย่าลืม นะครับ ในการ ออกรอบมีทั้ง good day และ bad day ไม่มีใครตีดีหรือเลวทุกวัน วันใดตีไม่ ดีแล้ว ยังมีความสุข นั่นคือ สุดยอดปรารถนา...ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ


ที่มา
http://www.navy.mi.th/navic/document/900908b.html

           ๑. ๑๐๐% GOLF โดย DAVID LEADBETTER
           ๒. หลักสูตร CLASS A แห่งชาติ โดย โปรเชาว์
           ๓. GOLF TIP A DAY โดย BILL
 

Sunday, July 21, 2013

คุณสมบัติของนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จ

คุณสมบัติของนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จ



1. ต้องมีเทคนิคและเบสิคที่ถูกต้อง
รู้และเข้าใจถึงการทำงานของวงสวิงทั้งหมด ใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นในถุงกอล์ฟได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่หัวไม้,เหล็กยาว,เหล็กกลาง,เหล็กสั้น,พัทเตอร์ และสามารถดัดแปลง,ปรับแต่งวงสวิงได้ตามต้องการ ควรที่จะมีโค้ชคอยให้คำแนะนำและปรึกษาได้ โดยโค้ชจะช่วยทำให้เทคนิคของนักกอล์ฟสามารถใช้งานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ ช่วยวางแผนการเล่น ดังนั้นโค้ชจะต้องมีความสามารถอย่างแท้จริง มีความรู้จริง

  2. ต้องมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
ความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมาจากการฝึกซ้อมที่ถูกวิธี ซ้อมจนมั่นใจว่าเราทำได้ ทำได้ดั่งที่ใจคิด แต่มีข้อพึ่งระวังคือ ในกีฬากอล์ฟไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบ ( PERFECT) จงอย่าฝึกซ้อมเพื่อความสมบูรณ์แบบ แต่จงฝึกซ้อมเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซ้อมช็อทนั้นนานๆ ซ้อมจนคิดว่าเราทำได้ มีความมั่นใจที่สามารถทำช็อทนั้นๆ ได้ดี แล้วนำความมั่นใจนั้นไปใช้ในการออกรอบแข่งขัน เมื่อถึงโอกาสที่จะต้องเล่นในช็อทที่เราซ้อมมา ก็ขอให้นึกถึงเวลาที่เราฝึกซ้อมมาก่อนหน้านั้น คิดเสมอว่าเราทำได้และทำได้ดีด้วย เพราะเราผ่านการซ้อมมาอย่างหนัก มันเป็นช็อทที่เรามั่นใจ ผลงานหลังจากการเล่นช็อท นั้นออกไปก็มักจะออกมาดี อย่างที่เราต้องการ
 

3. ต้องมีจินตนาการที่ดีในการเล่นแต่ละช็อท
ก่อนที่จะทำการเล่นในแต่ละช็อท จะต้องมียินเสียงหน้าไม้ปะทะกับลูกกอล์ฟ ก็ยิ่งเป็นจินตนาการที่ดีมากคือได้ยินทั้งเสียงและได้เห็นภาพก่อนการเล่นลูกในช็อทนั้นๆ ภาพและเสียงในจินตนาการ จะทำให้เรากำหนดได้ว่าเราจะเลือกเล่นช็อทนั้นอย่างไร ใช้ไม้กอล์ฟอันไหน น้ำหนักที่ต้องใช้ ,มุมการลอยของลูกกอล์ฟ ต้องชัดเจนในจินตนาการ
จินตนาการที่ดีเห็นลูกกอล์ฟพุ่งหรือลอยเข้าสู่เป้าหมายยิ่งในจินตนาการนั้นสามารถได้แม้กระทั่งในการฝึกซ้อม ก็ต้องมีจินตนาการ อย่างการฝึกซ้อมในแต่ละช็อท ต้องใส่จินตนาการว่าเรากำลังลงแข่งขันจริงๆ เช่นการซ้อมพัทในระยะ 3-4 ฟุต ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ควรพลาด หากซ้อมอย่างไม่มีจินตนาการ ก็จะทำได้ง่าย พัทลงได้ง่าย เพราะไม่มีความกดดันใดๆ แต่ก็จะไม่ได้ประโยชน์เลยในการฝึกซ้อมแบบนี้ แต่หากใส่จินตนาการเข้าไปว่าเป็นการพัทในการแข่งขันจริง ต้องรักษาคะแนนหรือสกอร์ของตนเอง ก็จะเกิดความระมัดระวังในการพัททุกครั้งในการฝึกซ้อม เมื่อฝึกซ้อมอย่างมีจินตนาการแบบนี้บ่อยๆ และทำได้เป็นอย่างดีทุกครั้ง ก็จะเกิดความมั่นใจ และสามารถควบคุมและรับมือกับความกดดันได้ดี เมื่อต้องไปเจอกับสถานการณ์จริงๆในการแข่งขัน และถือว่าเป็นการฝึกซ้อมที่จะได้ประโยชน์สูงสุด
การเล่นกอล์ฟอย่างไม่มีจินตนาการ ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้
 
4. ต้องเป็นคนที่มีจิตใจดี  
มีน้ำใจเป็นนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะ รู้อภัยมีสัมมาคารวะไม่เย่อหยิ่ง นักกอล์ฟที่คิดว่าตนเองเก่งแล้วก็จะมีแต่ความตกต่ำ เพราะจะไม่มีการพัฒนาอีกต่อไป นักกอล์ฟที่ดีจะต้องพัฒนาตนเองอยู่ลตอดเวลาทั้งทางด้านเทคนิคและจิตใจ ชัยชนะที่แท้จริงคือการพัฒนาตนเอง ถ้วยรางวัลหรือเหรียญรางวัลเป็นเพียงตัวบ่งบอกหรือสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเท่านั้น
การพัฒนาทางด้านเทคนิค จะบ่งบอกจากสกอร์ที่ทำได้ ว่าเรามีสกอร์ที่ลดลง การพัฒนาทางด้านจิตใจ จะบ่งบอกจากการที่เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่โมโหง่าย
นี่ต่างหากคือการพัฒนาและเป็นชัยชนะที่แท้จริง
5. ต้องมีเวลาอยู่กับกีฬากอล์ฟนานๆ        
การที่จะเป็นนักกอล์ฟที่จะประสบความสำเร็จ ต้องมีเวลาอยู่กับกอล์ฟเหมือนอยู่กับเวลาของการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง หรือหากยังอยู่ในวัยเรียน ก็ต้องใช้เวลาให้มีประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่เราจะจัดสรรมาได้หลังจากเลิกเรียนในแต่ละวัน และซ้อมอย่างมีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นจริงๆ


ต้องมีการจัดสรรเวลาในการฝึกซ้อม มีโปรแกรมและรูปแบบการฝึกซ้อมที่ชัดเจน ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน จัดวางโปรแกรมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละปี จะทำให้ตนเองมีระเบียบวินัย และมีความมุ่งมั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ย่อท้อ

ผู้พิชิตต้องฟันฝ่าอุปสรรค์มามากมายทั้งสิ้น



Saturday, June 22, 2013

จินตนาการ....สำคัญมากสำหรับการเล่นช็อตสำคัญ

จินตนาการ....สำคัญมากสำหรับการเล่นช็อตสำคัญ

เมื่อนักกอล์ฟตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ค่อนข้างจะต้องทำให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการต้อง Save หรือต้องสู้ เพื่อทำให้สกอร์ไม่เสียหายมากไปกว่านี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้าง "จินตนาการ" ให้เกิดขึ้นกับช็อตที่กำลังจะเล่น ดังเช่นในตัวอย่างของภาพที่นักกอล์ฟจะต้องเล่นจากหลุมทรายขึ้นมา มีระยะของรัฟอยู่ประมาณหนึ่งก่อนทีจะเข้าไปสู่บริเวณพื้นกรีน ซึ่งก็ถือว่าเป็นแรงกดดันพอสมควร ก่อนที่จะเริ่มลงมือระเบิดทรายขึ้นมานั้น นักกอล์ฟต้องสร้าง "จินตนาการ" ของช็อตก่อนว่าจะเป็นอย่างไร? ผมจะลองจินตนาการการเล่นช็อตนี้ให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังนี้.....
.(ตามองกรีน-คิดภาพว่าเมื่อเล่นแล้ว.....
ลูกนี้จะลอยโด่งออกจากบังเกอร์ตามที่คาดหวังไว้ ด้วยน้ำหนักที่พอดีพอเหมาะกับที่ตั้งใจไว้จริงๆ ลูกจะลอยตกห่างจากธงเล็กน้อยก่อนที่จะวิ่งไปหยุดอยู่ห่างจากหลุมประมาณ 2-3 คืบที่พอจะยืนแท็บอินได้.....
นี่คือลักษณะการจิตนาการของผมที่ผมจะพยายามนึกถึงก่อนที่จะเล่นช็อตระเบิดทรายช็อตนี้ หากนักกอล์ฟฝึกจินตนาการเป็นช็อตที่ดี ผลของการเล่นมักจะออกมาดี ทั้งนี้เพราะสมองของเราคิดในสิ่งที่ดี บางครั้งนักกอล์ฟอาจจะคิดว่า ก็แหม?? ผมมันเป็นนักกอล์ฟระดับมือใหม่จะไปคิดแบบที่โปรแนะนำก็รู้สึกว่าจะเกินความสามารถ แต่ผมก็ยังอยากให้คิดแบบที่แนะนำเพราะ ไม่ว่าความเป็นจริงเราจะเป็นนักกอล์ฟมือใหม่แต่การคิดดี จินตนาการเยี่ยมจะช่วยเราได้มาก ต้องลองดูครับ คิดให้ดี ฝึกจินตนาการให้เยี่ยม ผลงานจะออกมาดีจนเราอาจจะตกใจได้ครับ....

ด้วยความปรารถนาดี
Pro eddie

Thursday, November 1, 2012

การเล่นลูกสั้น

 


 
การเล่นลูกสั้นรอบกรีน
ถ้าระยะถึงธงมีที่พอที่จะให้ลูกตกและกลิ้งต่อ

       หากเป็นไปได้ต้องพยายามชิพให้ลูกตกเพียง 1/3 และวิ่งเสีย 2/3  ของระยะทางระหว่างลูกถึงธง

       ช้อทดังกล่าวควรจะใช้เหล็กที่มีหน้าไม้แหงนน้อย (เหล็กยาวขึ้น)  ลูกยิ่งใกล้กรีนยิ่งต้องใช้เหล็กหน้าแหงนน้อยลง 

       ให้นึกเสียก่อนว่าจะให้ลูกตกจุดไหนและวิ่งต่ออีกแค่ไหน  ลากหัวไม้ให้เลียดพื้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่าหักข้อมือมากเกินไป

การชิพต่างสถานการณ์

       ลูกที่อยู่ห่างจากขอบกรีนตั้งแต่ 40 หลา ลงไป (40 yards or less)  ควรจะชิพลูกให้ตกในกรีนทุกครั้งเว้นเสียแต่ว่า  ธงปักอยู่ใกล้ขอบมากจริงๆ  ท่านอาจจะต้อง
ชิพให้ลูกตกขอบกรีนเล็กน้อย  เพื่อลดความเร็วของลูก

        สำหรับลูกที่อยู่ห่างกรีนน้อยกว่า  10  หลา  ท่านควรใช้เหล็ก 6 ยืนเปิด  น้ำหนักอยู่ทางซ้ายตลอดการสวิง  ด้วยแขนและหัวไหล่ 
ถ้าลูกยิ่งอยู่ไกลกรีนออกไป  ให้ใช้เหล็ก 8-10  ตามลำดับ  ความไกลของลูกที่จะชิพ 
ยืนสแควร์และให้จรดลูกอยู่ค่อนไปทางขวาเล็กน้อย

 
เตรียมการล่วงหน้าก่อนชิพทุกครั้ง

      เตรียมการล่วงหน้าและนึกไว้ในใจก่อนชิพลูกทุกครั้ง  ก่อนชิพทุกครั้งให้นึกในใจว่าจะให้ลูกตกที่ได้ดูเสียก่อนว่าลูกอยู่ใกล้กรีนมากน้อยแค่ไหน  ควรจะใช้เหล็กหน้าตั้งหรือ  หน้าแหงน  (move loft)  ลูกชิพที่ยิ่งไกลออกไปก็ให้ใช้ไม้ที่มีหน้าแหงนยิ่งมากขึ้น  ยิ่งใกล้กรีนยิ่งใช้หน้าแหงนน้อยลง  (less loft)  เพื่อให้ลูกตกแล้วไม่วิ่งไปด้านข้างเหมือนลูกโด่ง

 

ชิพเข้าเป้า

       เรื่องชิพเป็นเรื่องช่วยได้มากสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่นเพราะระดับมือสมัครเล่นมักจะดีขึ้นกรีนตามกำหนด (on  green in regulation)  ได้ด้วย  ฉะนั้นต้องอาศัยลูกชิพที่ถูกต้องและแม่นยำ  เพื่อทำให้แต้มน้อยลง  ขอย้ำอีกครั้งท่านต้องนึกไว้ในใจเสียก่อนว่าจะให้ลูกตกที่จุดไหนและวิ่งต่อเท่าไรในการชิพแต่ละครั้ง
 

ลูกชิพและพิทซ์เป็นลูกที่สำคัญยิ่ง


       ก่อนชิพหรือพิทช์ลูกทุกครั้งต้องพิจารณาเรื่องการจับ
กริ้พและการจรดลูกให้ถูกต้องและถี่ถ้วน  ไม่ต้องรีบร้อนลูกไม่วิ่งไปไหนจนกว่าท่านจะตี

      น้ำหนักต้องอยู่เท้าซ้ายตลอดการชิพ  แม้ว่าตอนสวิงขึ้น (back swing)  น้ำหนักก็ไม่ถ่ายกลับมาที่เท้าขวาเหมือนช้อทที่ตีเต็มสวิงมือทั้งสองต้องอยู่หน้าลูกตั้งแต่ตอนจรดลูกและหน้าไม้จะต้องสแควร์กับเป้า

       เวลาชิพลูกต้องสวิงให้สบายๆ  แต่หนักแน่น (easy but furm)  ในเมื่อเป็นลูกชิพหมายถึงเป็นลูกสั้นๆ  ฉะนั้นท่านต้องไม่งอแขนซ้ายหลังจากไม้กระทบลูกไปแล้ว

 การชิพต้องสแควร์

       ลูกชิพที่ห่างธงตั้งแต่ 5-15  หลาลงไป  และข้างหน้าไม่มีสิ่งกีดขวางควรชิพเหมือนกับการพัทลูกยาว  ฉะนั้นเรื่องกริ้พและการยืนจรดลูกในการชิพก็แล้วแต่ท่านจะถนัดเหมือนกับที่ท่านถนัดในการพัท

  การนึกภาพในใจจะช่วยในการชิพได้มาก
       การชิพเปรียบเสมือนกับการทอยลูกโดยไม่ต้องมีไม้ในมือ  ให้สมมุติว่าท่านทอยลูกใส่เป้า  ท่านจะพบว่าลูกที่ทอยได้ดีที่สุดคือลูกที่ทอยด้วยการแกว่งแขนออกไป  ให้ใช้ความรู้สึกดังกล่าวในการชิพจริงๆ  แล้วท่านจะประหลาดใจว่าท่านสามารถชิพใกล้ธงได้แทบทุกครั้ง
 
 การชิพข้อมือต้องยันตลอด
       ส่วนมากชิพไม่ถูกต้องเพราข้อมือหลวมเวลาไม้กระทบลูก  ทำให้เกิด Top  ลูกบ้าง
สิ่งที่สำคัญท่านต้องสวิงขึ้นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้  ใช้แขนและหัวไหล่ในการสวิงแทนที่จะใช้ตัวช่วย  ข้อมือซ้ายต้องยันตลอดการสวิง  แม้กระทั่งตอนจบสวิงข้อมือก็ยังห้ามพับหรืองอ
 
      ชิพข้ามทราย
      ลูกที่ตีให้โด่งข้ามทรายและตกหยุดเป็นลูกที่ท่านต้องเผชิญเสมอในการเล่นกอล์ฟ
       ให้ใช้เหล็กเบอร์ 10  (Pitching Wedge)  จรดลูกให้มือทั้งสองอยู่หลังลูกเล็กน้อย  ส่วนตำแหน่งของลูกอยู่ตรงเส้นเท้าซ้าย  และยืนเท้าซ้ายเปิดเพื่อช่วยให้หน้าไม้แหงนตักลูกได้โด่งเต็มที่
      ให้หมุนมือทั้งสองไปทางซ้ายของกริ้พเล็กน้อย  เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมือพลิกขณะที่ไม้กระทบลูก
       หากท่านสามารถทำตามที่แนะ  ท่าจะพบว่าขณะที่ตีไม้ผ่านไปที่ลูก  จะเกิดไดวอทหน้าลูกทันที  ทำให้ลูกปั่นกลับ (back – spin)  และตกหยุด
 
ให้ลูกอยู่ใต้ธง
       ถ้าธงอยู่บนเนิน เวลาชิพลูกต้องพยายามวางแผนเสียก่อนว่าอย่าชิพเลยธง  เพราะพัทขึ้นง่ายกว่าพัทลง
 เวลาตีด้วยเหล็ก 10  (Wedgee)  ต้องใช้ข้อมือ
      หากท่านหักข้อมือขึ้น  และตีลงไปที่ลูกทันที  ลูกจะบินลอยสูงขึ้นกว่าปกติ  และตกหยุดแต่ต้องจำไว้ว่าข้อมือต้องยันขณะที่ไม้กระทบลูกเสมอ
 
พิทช์ลูกให้โด่ง (Lobpitch)
        เมื่อท่านต้องพิทช์ลูกข้ามหลุมทรายหรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นและธงอยู่ห่างออกไปอีกด้านหนึ่งของกรีนท่านจะทำอย่างไรจึงจะให้ลูกลอยสูง  ตกลงไปบนกรีนอย่างนิ่มนวลและยังวิ่งต่อได้อีก 2-3 ฟุต
       ให้เล่นลูกค่อนไปทางเท้าซ้าย (ลูกอยู่เลยเส้นเท้าซ้ายออกไปเล็กน้อย)  ยืนเปิดโช้คไม้ (ให้มือทั้งสองอยู่ห่างจากปลายกริ้พน้อยลง)  เปิดหน้าไม้ไปทางขวาของเป้า  สวิงขึ้นโดยใช้ข้อมือมากพอสมควร  ข้อศอกขวาให้ชิดลำตัวให้มาก  และสวิงผ่านไปที่ลูกจากในออกนอก (inside –out)
 
ใช้เหล็ก 9 ตีลูกพันช์ (Ppnch)
       ในวันที่มีลมแรงและเมื่อท่านต้อการตีให้ลูกตกหยุด  การตีลูกพันช์ด้วยเหล็ก 9 เป็นลูกที่ควรฝึกตีให้ได้ลูกพันช์เป็นลูกที่ลอยไม่สูง  เพื่อหลบลมและลูก  ปั่นกลับมาก (plenty of backspin) 
ตีข้ามหลุมทราย (BUN-KER) ด้วย SAND WEDGE
      บ่อยครั้งที่ท่านเจอปัญหาต้องตีข้ามหลุมทราย  และโดยเฉพาะเมื่อธงปักใกล้หลุมทรายไม่มีที่ให้ลู กวิ่ง 
       ในกรณีดังกล่าวเหล็กที่ควรใช้ได้แก่ SAND WEDGE  และการสวิงแทบจะเหมือนลูกที่ตีในทรายให้เล่นลูกค่อนไปทางเท้าซ้าย  ยืนเปิดมือทั้งสองอยู่หลังลูกเล็กน้อยขณะที่จรดลูก  หน้าไม้เปิดเล็กน้อยไปทางขวาของเป้า  ทั้งหมดจะช่วยให้ลูกลอยสูงและตกหยุด
       ขณะที่สวิงให้ใช้มือซ้ายมากกว่ามือขวา  สวิงขึ้น  โดยหักข้อมือขึ้นและสวิงลงไปที่ลูกในลักษณะคล้ายๆ  เฉือนลูกจากนอกเข้าใน
 

ชีพลูกให้วิ่ง

       ลูกชิพควรจะกลิ้งเข้าหาเป้าและมีโอกาสลงหลุมไปเลย  ลูกต้องลอยจากพื้นไม่มากและลูกปั่นกลับน้อยที่สุด (Minimum backspin) 
        เพื่อให้ลูกกลิ้งต่อท่านต้องจรดลูกค่อนไปทางเท้าขวา  มือทั้งสองอยู่หน้าลูก  หัวเข่าทั้งสองงอไปในทิศทางของหลุม  น้ำหนักตัวอยู่ซ้าย  เวลาลากไม้กลับ  (back swing)  ไม่ต้องถ่ายน้ำหนักกลับ  เวลาตีลงหัวเข่าที่งออยู่แล้ว  มีความรู้สึกว่าเคลื่อนไปในทิศทางของหลุมด้วย
       ลูกนี้ต้องตีด้วยมือและแขนน้ำหนักลำตัวต้องไม่ถ่ายระหว่างที่ไม้กระทบลูก  ให้ยืนสแควร์จรดลูกตรงกึ่งกลางระหว่างเท้าทั้งสองสวิงกลับ (backswing)  ให้สั้น  และลาก
ไม้ให้เสียดกับพื้นให้มากที่สุดเพื่อว่าเวลากระทบลูก  อาร์ของสวิงจะกว้างและอยู่เลียดพื้นที่สุด
        ลูกพันช์ดังกล่าวจะเกิดไดวอทมากกว่าลูกปกติ  และเมื่อหน้าไม้กระทบลูกแล้ว  อย่าพยายามพลิกหน้าไม้
 
 ตีลูกพิทธ์จากหญ้ายาว (Heavy rough)
     ลูกดังกล่าวต้องใช้ความสามารถพิเศษ ขั้นแรกให้ใช้เหล็ก 10 (Pitching Wedge) หรือ  SAND  WEDGE
      ยืนให้แคบและเปิดเท้าซ้ายจรดลูกให้ค่อนไปทางเท้าขวา  แต่ไม่ควรเลยส้นเท้าขวา  มือทั้งสองอยู่หน้าลูก  หน้าไม้  สแควร์กับหลุม
     การยืนจรดลูกดังกล่าว  จะบังคับให้ท่านต้องสวิงตั้ง พยายามแบ็คสวิงให้สั้นและตีใต้ลูก ท่านจะไม่มีโอกาส Follow-through  ได้มาก  อย่าหวังให้ลูก BACKSPIN  มาก แม้กระทั้ง Pro  ก็ยังยากส์
 
ตีลูกให้ชน BUNKER
     สมมุติว่าท่านต้องตีลูกข้ามหลุมทรายที่ใหญ่และลึก
 (กรีนอยู่สูงจากหลุมทรายมาก) และธงก็อยู่ใกล้หลุมทรายด้วย  เป็นลูกที่ตียากแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ทีเดียวและโดยเฉพาะลูกอยู่บนดินแข็งไม่มีหญ้าเลยจะใช้  PRRCHING  WEDGE  ตีปั่นลูกให้ลอยและหยุดก็เป็นได้ยาก
     เพื่อความปลอดภัย  ตีลูกให้ลอยไม่มากเพื่อชนตลิ่งหรือข้างกรีน(ดังแสดงในรูป) ใช้เหล็ก 6 หรือ 7 ให้มือทั้งสองอยู่หน้าลูก หน้าไม้สแควร์กับเป้า สวิงกลับให้ต่ำและสั้น
พิทช์ขึ้นนินสูง
     กรีนส่วนมากจะเอียงเข้าหาแฟร์เวย์  ทำให้ท่านต้องพิทช์ขึ้นเนินเสมอ ๆ
     การเลือกเหล็กขึ้นอยู่กับตำแหน่งของธง  สมมุตว่าท่านอยู่ห่างจากขอบกรีนด้านหน้า  20  ฟุต และธงปักลึกเข้าไปอีก  25  ฟุต  ให้ใช้  Pitching Wedge ตีลูกให้เข้าไปในกรีน(จากขอบ) ประมาณ  2-3  ฟุตถ้าธงอยู่ไกลออกไปอีกให้ใช้เหล็กเบอร์น้อยลง (หน้าเหล็กแหงนน้อยลง) และกะให้ลูกตกจุดเดิม
 
การตีลูกจากที่แฉะ
     การตีลูกดังกล่าวต้องให้เกิดไดวอทน้อยที่สุดหรือไม่มีไดวอทเลยการตีหลังลูกเพียงนิดเดียวจะทำให้ลูกสั้นไปมากอย่างที่คิดไม่ถึง
     ให้เพิ่มเหล็ก 1 เบอร์ (ยกตัวอย่างให้ใช้เหล็ก 7 แทนที่จะเป็นเหล็ก 8) เพราะท่านสวิงเต็มที่เหมือนสนามแห้ง ๆ ไม่ได้ ต้องยืนให้มั่นใช้ร้องเท้าให้เป็นประโยชน์ให้ลูกอยู่ค่อนไปทางซ้าย  สวิงไม้ขึ้นให้เลียดพื้น (Low  backswing) และต้องพยายามตีให้หน้าไม้กระทบลูกก่อนถูกพื้น
          
 
ยืนกว้างเพื่อตีให้ลูกลอยสูงขึ้น
     สมมุติว่าลูกของท่านออกแฟร์เวย์ และอยู่หลังไม้  กิ่งก้านของต้นไม้นั้นก็อยู่เกือบจะติดพื้นท่านจำเป็นต้องตีข้ามต้นไม้เท่านั้น
     ให้ใช้ Wedge ยืนเปิดและแยกเท้ากว้างกว่าปกติเล็กน้อย ลูกอยู่ค่อนไปทางเท้าซ้าย (เลยส้นเท้าซ้ายออกไปเล็กน้อย เปิดหน้าไม้ไปทางขวาของเป้าเล็กน้อย)
                การยืนกว้างขึ้นจะบังคับท่านให้ใช้ตัวน้อยลงและ back swing  สั้นลง  ซึ่งเหมาะกับการตีลูก ลูกนี้อยู่แล้วสวิงไม้ตั้งขึ้น และตีผ่านไปที่ลูกอย่างสบาย ๆ (ไม่ต้องเร่งและรีบตี)