Sunday, September 2, 2007

หัดตีกอล์ฟ


การเริ่มหัดตีกอล์ฟ
หัวใจสำคัญของการเล่นกอล์ฟ คือ วงสวิง ซึ่งประกอบด้วย หลักสำคัญ ३ ประการ คือ- การจับด้ามไม้กอล์ฟ
- ท่ายืน และการยืนจรดลูก
- วงสวิง

10 เบสิคเริ่มต้น ของการหัดเล่นกอล์ฟ
การหัดเล่นกอล์ฟใหม่ ถ้ามีพื้นฐานที่ถูกต้องตั้งแต่
แรกเริ่ม โอกาสที่จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอ
จะมีสูงกว่า ที่เริ่มหัดตีเองโดยยังไม่รู้เบสิคเริ่มต้น
ของกอล์ฟก่อน
10 เบสิค ขั้นพื้นฐาน ของการเล่นกอล์ฟ มีดังต่อไปนี้

1. การจับกริป และการวางตำแหน่งมือให้ถูกต้อง

การวางมือซ้ายมือซ้าย ให้วางไม้ จากโคนนิ้วก้อยเฉียง
ไปทาง ปลายนิ้วชี้ แล้วคว่ำมือลง เมื่อมองมาที่มือ
ให้มองเห็นข้อด้านบนของนิ้วชี้ (ตามรูป)







การวางมือขวามือขวาให้วางไม้ในตำแหน่งเดียวกับ
มือซ้าย คว่ำมือให้ประกบกับมือซ้าย (ตามรูป)







2। ระยะห่างของเท้า ตอนจรดลูกก่อนสวิง



3। ตำแหน่งการวางลูกกอล์ฟ ตอนจรดลูก


ระยะห่างของเท้าระยะห่างของเท้า ยืนให้มีความกว้าง
เท่ากับไหล่
ของตัวเอง (เหล็ก 7) ตำแหน่งลูกกอล์ฟ
ให้อยู่ค่อนมาทางเท้าซ้ายเล็กน้อย



4। ท่ายืน






5। การยืนเล็งก่อนสวิง ให้เป็นเส้นขนานกับเป้าหมาย


ท่ายืนท่ายืน ให้เอนตัวมาด้านหน้า รักษาแผ่นหลังตรง
ย่อเข่าเล็กน้อย ทิ้งแขนลงตามสบาย โดยไม่เกร็ง
ให้แขนซ้ายตึง แขนขวาหย่อนได้เล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัว
ให้อยู่ส้นเท้าหลังมากกว่าปลายเท้า ให้แนวปลายเท้า
และแนวไหล่ ขนานไปกับ เป้าหมายที่จะตีไป


6। การขึ้นไม้ และการรักษาแนวสวิงของไม้กอล์ฟ
การขึ้นไม้ การขึ้นแบ้คสวิง ให้หมุนไหล่ซ้าย มาจนกระทั่ง
ไหล่ซ้ายชี้ ลงไปที่ตำแหน่งลูกกอล์ฟอยู่โดยรักษาแนวสวิง
ของไม้ ให้เป็นแนวตรง และค่อนข้างชันเล็กน้อย



7। ตำแหน่งของมือและแขนทั้งสองข้าง ระหว่างการสวิง




ตำแหน่งของมือและแขนทั้งสองข้างตำแหน่งของมือ
เมื่อแบ๊คสวิงสุดแล้ว ให้หักข้อมือ โดยให้ไม้และ
แขนซ้ายทำมุม ได้ 90 องศา รักษาหลังมือซ้ายให้ตรง
แขนซ้ายเหยียดตรง โดยที่ไม่เกร็ง
แขนขวาพับตรงข้อศอกด้านใน ทำมุม 90 องศา
และรักษาระดับข้อศอกให้ขนานพื้น



8। การถ่ายน้ำหนักให้ถูกต้อง ระหว่างการสวิง





การถ่ายน้ำหนัก วงสวิงที่ดี จะต้องมีการถ่ายน้ำหนักตัว
ทั้งแบ๊คสวิงและ ดาวน์สวิง การถ่ายน้ำหนักที่ถูกต้อง
จะช่วยให้การตีใช้แรงน้อยลง ควบคุมการสวิง
และทิศทางลูกได้ดีขึ้น
9। การควบคุมหน้าไม้ ขณะนำหน้าไม้เข้ากระทบลูกกอล์ฟ









การควบคุมหน้าไม้หน้าไม้ตอนกระทบลูก
ควรจะอยู่ในตำแหน่งเดิม เมือนตอนจรดไม้
การหมุนของมือระหว่าง วงสวิง ควรจะหมุนธรรมชาติ
และไม่เกร็ง ซึ่งจะทำให้หน้าไม้กลับมากระทบลูก
ในตำแหน่งเดิมได้


10। ท่าจบวงสวิงที่ถูกต้อง



ท่าจบวงสวิง ท่าจบวงสวิงที่ถูกต้อง ควรจะถ่ายน้ำหนัก
และหมุนตัวไปทางซ้ายจนสุด ให้รู้สึกว่าน้ำหนักตัวอยู่
ที่เท้าซ้าย ตำแหน่งหน้าให้อยู่นิ่งมากที่สุด
ไม่จำเป็นต้องมองลูกทันทีที่ตีออกไป
ควรจะตีให้จบวงสวิงเสียก่อน แล้วค่อยมองลูกกอล์ฟ
ท่าจบจะต้องไม่รู้สึกเกร็ง และจะต้องยืนให้อยู่
ถ้ายืนไม่อยู่แสดงว่าทิ้งน้ำหนักมาที่ไหล่มากเกินไป

ที่มา Golf Tips ควรรู้ http://www.thailadygolf.com

Tuesday, August 14, 2007

5 กุญแจสำคัญพัฒนาการเล่น


5 กุญแจสำคัญพัฒนาการเล่น

(1) ตีจากทราย ต้องสวิงให้เหมือนกันทุกครั้งเมื่อเจออุปสรรค
ลูกตกทรายให้ใช้วงสวิงเหมือนกันทุกครั้ง เพียงแต่ปรับตำแหน่งวางลูก
และน้ำหนักของการสวิงว่ามาก หรือ น้อยเท่านั้น
เพื่อกำหนดระยะเป้าหมายที่จะตีไป นอกเสียจาก ลูกที่มีปัญหามาก ๆ
เช่น ลูกจมทราย หรือลูกไม่อยู่ในสภาพ การตีปกติได้
จึงจะใช้เทคนิคการตีพิเศษส่วนการตีทรายมากน้อยเท่าใดนั้น
อยู่ที่การฝึกซ้อมเป็นสำคัญ

พื้นฐานการตีจากทราย คือ ยืนเปิด เปิดหน้าเหล็ก จรดลอยไว ้เหนือทราย
สวิงตามแนวของการยืน และนึกว่า จะตีไปทางซ้าย ของเป้าหมาย คือ
ตีในลักษณะเฉือนจากนอกเข้าใน เน้นการตีด้วยส่วนบนของร่างกาย
ในขณะที่เท้าฝังลงในทราย และอย่ากลัว ที่จะตีผ่านทรายหลังลูก


(2) สวิงต้องนุ่มนวล และ ต่อเนื่องมีหลายคนที่เห็นเพื่อนตีไกลกว่าตัวเอง
แล้วพยายามที่จะตีตาม ด้วยการใส่แบบสุด ๆ ทำให้ผลออกมาคือ
หาทิศทางไม่เจอ
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของเกมส์กอล์ฟคือ การรักษาความสมดุล
ของวงสวิงให้คงที่สม่ำเสมอ พยายามขึ้นไม้ ด้วยความนุ่มนวล
ไม่เร็วและกระตุก หมุนไหล่ซ้ายนำการขึ้นไม้ และถ่ายน้ำหนัก มาทางเท้าขวา
เมื่อลงไม้ให้สะโพกนำด้วยการสไลซ์ไปทางซ้าย เพื่อเปิดให้ซีกขวานำไม้ลงมา
ในขณะที่หน้ายังคงที่ ตายังคง จับจ้องอยู่ที่ลูก และส่งผ่านหน้าไม้จากลูก
เข้าสู่เส้นเป้าหมาย
ทุกครั้งที่ตีจะต้องรักษาระดับความเร็ว และจังหวะของวงสวิง ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
(3) ชิพ... ศีรษะต้องนิ่งสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ทิศทางของลูกเปลี่ยนไปคือ
การโยกศีรษะ ทำให้จุดแกนของร่างกายเปลี่นไป
ดังนั้นการเล่นลูกชิพให้ได้ผลจะต้องรักษาศีรษะให้คงที่ตลอดการชิ

พื้นฐานของการชิพลูกข้างกรีน คือ ยืนเปิด วางลูกค่อนมาทางเท้าขวา
น้ำหนักส่วนใหญ่อยู่ทางเท้าซ้าย มือจรดนำหน้าลูก และจับกริพสั้น
สโตรคลูกคล้ายการพัตต์ ส่วนเหล็กจะใช้เบอร์อะไรอยู่ที่ความถนัด
และสถานการณ์ซึ่งการฝึกซ้อมจะช่วยให้รู้ถึงประโยชน์
ระยะน้ำหนักของแต่ละเล็กได้ดี

4) หมุนไหล่ซ้าย มาอยู่เหนือเท้าขวา สิ่งที่จะทำให้เกิดขดเกลียว
ของกล้ามเนื้อคือ การขึ้นไม้ที่ถูกต้อง เมื่อท่านนักกอล์ฟจรดไม้แล้ว
ก่อนจะขึ้นไม้ให้นึกว่า จะต้องหมุนไหล่ซ้ายมาอยู่เหนือเท้าขวา
ซึ่งจะทำให้เกิดขดเกลียว ของกล้ามเนื้อ ระหว่างไหล่กับเอว
และแผ่นหลังจะหันเข้าหาเป้าหมาย
เมื่อขึ้นไม้เต็มที่ อันจะเป็นการสร้าง ขุมกำลังของการสวิงอย่างถูกต้อง
ฝึกการขึ้นไม้ให้ถูกต้อง จะทำให้วงสวิงพัฒนาอย่างรวดเร็ว




(5) หาจุดโฟกัสหลังลูก เมื่อจะพัตต์มีโปรหลายคน ใช้การจรดพัตเตอร์
ให้ห่างจากลูกเล็กน้อย เพื่อให้ช่องว่าง ระหว่างหน้าพัตเตอร์กับลูก
เป็นจุดโฟกัสของสายตา จะเป็นการช่วยให้หาจุดกระทบ ของหน้าพัตเตอร์กับลูก
ได้อย่างแน่นอน ซึ่งหากวางหน้าพัตเตอร์ไว้ชิดกับลูก
อาจทำให้ยากต่อการกำหนด จุดกระทบที่แน่นอน

Sunday, August 12, 2007

นักกอล์ฟมือใหม่ : กับปัญหาคาใจ

นักกอล์ฟมือใหม่ : กับปัญหาคาใจ
นักกอล์ฟเหล่านี้ จึงมีพัฒนาการทางกอล์ฟที่ช้ามาก แทบจะไม่ต่างอะไรกับผู้ที่หัดกอล์ฟมา 6 เดือน บางครั้งนักกอล์ฟมือใหม่ที่เพิ่งเล่นได้ไม่นาน ออกรอบยังมีคะแนนดีกว่านักกอล์ฟหลายคนที่เล่นเป็นเวลานานกว่า แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ทั้งนักกอล์ฟมือใหม่ และนักกอล์ฟเดือนละหน หรือผู้ที่ไม่ค่อยซ้อมกอล์ฟ ส่วนใหญ่แล้วจะพบปัญหาประเภทเดียวกันเมื่อไปออกรอบ ซึ่งเมื่อหาวิธีแก้ต่างๆนานา ก็ยังไม่พบทางออก มุ่งที่จะตีเพียงอย่างเดียว โดยปักใจว่าน่าจะตีได้ในครั้งต่อไป แต่ผลมันกลับตรงกันข้าม ยิ่งตี ยิ่งเละ
ปัญหาหลักเลยของนักกอล์ฟเหล่านี้คือ ขาดการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีและได้รับประโยชน์สูงสุด ผมเห็นนักกอล์ฟส่วนใหญ่ที่ตีเข้าไปตีในสนามซ้อมกอล์ฟ ตีจนล้า มือเจ็บ มือบวม คือตีมากเข้าไว้ จะได้รู้ว่าเราซ้อมเยอะ!! ความที่เราคิดว่าเราซ้อมเยอะแล้วนั้น ออกรอบก็น่าจะดี แต่หารู้ไม่ว่า

การซ้อมที่ถูกวิธีนั้นควรจะทำอย่างไร...??คำตอบก็คือว่า "เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ" ท่านนักกอล์ฟต้องเปลี่ยนวิธีการคิดใหม่นะครับ ซ้อมตีลูกที่เรายังเล่นได้ไม่ดี อย่างเช่น ลูกสั้น เป็นต้น ส่วนลูกที่เราดีอยู่แล้ว ควรจะซ้อมให้ดียิ่งขึ้นไป ไม่ใช่ว่าสักแต่หวด!! โดยไม่มีเป้าหมายในการตีนะครับ และแน่นอนว่ามันยังส่งผลถึงการออกรอบด้วยครับ
นักกอล์ฟมือใหม่กับปัญหาคาใจ....นักกอล์ฟเหล่านี้จะใช้วิธีการคิดว่าจะยืนอย่างไร...? จับกริพดีหรือยัง....? จะโดนลูกหรือเปล่า...? ลูกจะไปทางที่เราต้องการไหม...? เพื่อนๆจะหัวเราะหรือเปล่า...? ถ้าตีไม่ดีคงโดนรับประทาน....? และอื่นๆอีกมากมายที่นักกอล์ฟคิดกัน
หลายท่านเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงกำลังจะนึกถึงตัวเองใช่ไหมครับว่าเราเข้าข่ายอย่างนั้นหรือเปล่า ผมตอบได้เลยครับว่า 90% เป็นอย่างนี้ คิดโน้นคิดนี่ ไม่ได้ตีสักที พอตีปุ๊บ ไม่โดนลูกซะงั้น!! หลายคนซ้อมในสนามซ้อมยิ่งกว่าไทยเกอร์ วูดส์ ลูกกอล์ฟตรงแทบทุกลูก ไดร์ฟเวอร์ตรงมาก ชิพออนกรีนตลอด แต่พอออกรอบจริงๆ กลับไม่เป็นอย่างนั้น ไดร์ฟออกขวา ตีหลังลูก ชิพข้ามไปมา จบที่ 3 พัต ท่านเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า...??
ถ้าท่านเป็นอย่างนั้น ผมแนะนำให้ไปปรึกษาโปรกอล์ฟนะครับ ไม่ใช่ไปปรึกษาเพื่อนที่เล่นด้วยกัน เขาอาจจะช่วยท่านได้ แต่อย่างว่าแหละครับ ถามโปรกอล์ฟนะดีกว่าเป็นไหนๆ
ถ้าถามผม...?? ผมก็จะแนะนำวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ผมจะไม่แนะนำวิธีการสวิง เพราะผมเชื่อว่าคนที่สอนท่านมานั้นคือครู แต่ผมจะแนะนำวิธีการคิดแทนครับ
คิดอย่างไรให้แก้ปัญหา หรือทำให้มันน้อยลง?
อันดับแรกเลยท่านต้องรู้ฝีมือท่านก่อนว่าขนาดไหน ไม่ใช่บอกว่าผมไดร์ฟได้ 280 หลาทุกลูกเลย ทั้งๆที่ความจริงได้เพียง 220 หลาเท่านั้น ต้องประเมินตัวเองก่อนนะครับ คิดใหม่ทำใหม่ครับ สนามกอล์ฟทั่วไป พาร์ 72 ครับ เมื่อเราประเมินตัวเองแล้ว ตั้งค่าพาร์ให้ตัวเอง ให้สูงเข้าไว้ ผมตั้งให้เลยครับ พาร์ 108 สนามที่ท่านจะไปตีวันนี้คือพาร์ 108 นะครับ ไม่ใช่ 72 พูดง่ายๆคือ ท่านตีดับเบิ้ลโบกี้ทุกหลุม ท่านก็ทำได้แล้วครับ หลายท่านอาจจะค้านในใจ บางหลุมผมตีออก 8-9 ละ มันก็เกินแล้ว อันนี้ผมมีวิธีแก้ครับ หลุมที่ท่านว่ามานี้ท่านตีด้วยอะไร ตั้งใจจะทำอะไร...? ให้ท่านคิดใหม่นะครับว่า พาร์ 3 ตี 3 ออน ท่านทำได้ครับ แล้วทำ 2 พัด ก็ได้ดับเบิ้ล ถูกต้องไหมครับ แล้วถ้าท่านทำแค่ 2 ออน 2 พัตล่ะ ได้โบกี้ ถือว่าได้กำไรนะครับ เพราะท่านตั้งคะแนนดับเบิ้ลทุกหลุม ที่ออกจากบ้าน
อย่าลืมนะครับ พาร์ 4 ทำ 4 ออน 2 พัต ก็ดับเบิ้ล พาร์ 5 ทำ 5 ออน 2 พัต ก็ดับเบิ้ล และถ้า 18 หลุมท่านตีดับเบิ้ลหมดเลย ก็เสมอตัว 108 แต่ถ้าใน 18 หลุมมี 1 โบกี้ล่ะ คะแนนท่านลดลงแล้วนะครับ แล้วถ้ามีอยู่ 2 หลุมที่ท่านตีโดนดีมาก เกิดได้พาร์ขึ้นมา ท่านก็เหลือเพียงแค่ 104 เท่านั้นเอง ลดลงมาเรื่อยๆนะครับ
เห็นไหมครับว่าปัญหาการเล่นกอล์ฟไม่ดี ไม่ใช่แค่แก้ที่สวิงของเราเพียงอย่างเดียว แต่ต้องแก้ที่การคิดของท่านด้วย เมื่อถึงสนามกอล์ฟท่านจงมั่นใจว่าที่ท่านซ้อมที่ไดร์ฟวิ่งเร้นจ์มานั้นดีแล้ว เมื่อขึ้นทีออฟ อย่ามัวคิดถึงเรื่องเหล่านั้น จะจับกริฟอย่างไร จะโดนลูกหรือเปล่า ทำไมน้ำเยอะจัง
ให้ท่านคิดไปเลยว่า แฟร์เวย์อยู่ไหน กว้างจังเลย!! พัตนี้ลงได้เงิน 10 ล้าน อะไรก็ว่าไป ถึงแม้ผลงานจะไม่ค่อยดี แต่อย่างน้อยท่านก็คิดดี !! คิดดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ปัญหาคาใจของท่านนักกอล์ฟจะลดลง ถ้าท่านคิดเสียใหม่ กอล์ฟซ้อมทุกวันดีทุกวัน...
โปร happy

Thursday, July 26, 2007

หัวใจสำคัญของการพัตต์แม่น




หัวใจสำคัญของการพัตต์แม่น
สมัยที่ทอม วัตสันเป็นนักกอล์ฟหมายเลข 1 ของโลก
เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักพัตต์อันดับ 1 ของพีจีเอทัวร์

วันหนึ่งผมอ่านเทคนิคการพัตต์ให้แม่นของทอม
อ่านแล้วเกิดอาการคล้ายว่า “บรรลุ” ในทันใด
ทอมบอกว่ากลไกที่สำคัญที่สุดของการพัตต์เป็นสิ่งที่
นักกอล์ฟสมัครเล่น เกือบทุกคนไม่เคยพูดถึง
อาจจะเป็นเพราะไม่เคยมีใครสอนหรือไม่เคยรู้มาก่อนเลย

กลไกที่ว่าก็คือ
การพัตต์ที่ถูกต้อง แขนซ้ายจะต้องไม่ยืด-ไม่หด
ตลอดการพัตต์
วิธีรักษาแขนซ้ายไม่ให้ยืด และไม่ให้หดทั้งตอนแบ็คสวิง
ดาวน์สวิง และฟอลโลว์ ธรู
ทำได้ด้วยการรักษามุมของข้อศอกซ้ายให้คงที่ตลอดวงสวิง
ถ้ารักษามุมของข้อศอกซ้ายคงที่
จะบังคับให้แขนกับไหล่ทำงานเป็นชิ้นเดียวกันตลอดวงสวิง
เส้นทางเดินของหน้าพัตเตอร์จะคงเส้นคงวาทุกครั้ง
เหมือนการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา

ถ้าเราพัตต์โดยสามารถ “กำกับ” ให้หน้าพัตเตอร์เดินเที่ยงตรงทุกครั้ง
เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา รับรองว่าออนตรงไหน คู่ต่อสู้หนาวทุกครั้ง

ถามว่าถ้าเวลาพัตต์ มุมของข้อศอกซ้ายไม่คงที่
คือเวลาแบ็คสวิง ข้อศอกซ้ายยืดออก ตอนดาวน์สวิง
(ความจริงต้องเรียก ฟอร์เวิร์ด สวิง) ข้อศอกซ้ายหดกลับ

สาเหตุที่ข้อศอกซ้ายยืด ส่วนใหญ่เกิดจากท่านนักกอล์ฟ
ได้รับคำสอนว่า เวลาพัตต์ต้องรักษาหัวพัตเตอร์ให้เรียดพื้นที่สุด
ก็เลยยืดข้อศอกซ้าย เหยืยดแขนซ้าย เพื่อทำให้หัวพัตเตอร์เรียดพื้นที่สุด
แม้กระทั่งเวลาพัตต์ระยะไกล เมื่อเหยียดข้อศอก เหยียดแขน
ตอน แบ็คสวิง เวลาดาวน์สวิง ก็ต้องหดแขน หดข้อศอก
ถ้าไม่หด หัวพัตเตอร์ จะสะดุดพื้นกรีนก่อนถึงลูกอย่างแน่นอน
แอ็คชั่นอย่างนี้จะทำให้พัตต์แม่นได้อย่างไร ดังนั้น
จะพัตต์ให้แม่น ต้องรักษามุมของข้อศอกซ้าย ให้คงที่ตลอดการพัตต์


กอล์ฟทิปส์ จาก พิษณุ นิลกลัด ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 1-3 เมษายน 2545


มีข้อคิดเพิ่มเติมอีกนิด
1) ถ้าดูแลกริฟให้สะอาด มือก็จะจับกริพได้กระชับ และถ้าเช็คหน้าเหล็กให้สะอาด หน้าเหล็กก็จะสร้างแบ็คสปินให้ลูกได้เต็มที่
2) ถ้าลุดอัพ หรือหน้าไว ยกศรีษะเร็วเกินไปเวลาพัตต์ ขอให้เตือนตัวเองว่า “ให้หัวพัตเตอร์ผ่านเท้าซ้ายไปก่อนค่อยยกหัว” (สำหรับคนถนัดขวา)
3) หน้าร้อน แฟร์เวย์แข็งและแห้ง เวลาตีหัวไม้ 1 ต้องการให้ได้ระยะไกลขึ้น ปักทีให้เตี้ยลง ยืนแอ็คเดรสให้ตำแหน่งของลูกค่อนมาทางเท้าหลังมากกว่าปกติ 1 นิ้ว จะทำให้ลูกพุ่งต่ำ ตกแล้ววิ่งไปไกล
4) หน้าฝน หรือวันที่ฝนตก แฟร์เวย์แฉะ วีธีตีหัวไม้ 1 ไม่ให้เสียระยะให้ทำตรงข้ามกับข้อ 3 คือ ปักทีให้สูงขึ้น ยืนแอ็คเดรส ให้ลูกค่อนไปทางเท้าหน้ามากกว่าปกติ 1 นิ้ว ลูกจะแครี่ได้ไกลกว่าปกติ แม้จะตกแล้วไม่ค่อยวิ่ง แต่ก็ยังไกล



สาเหตุของการพัตต์ลูกในระยะสั้นผิดพลาด1 เล็งไม่ตรง
2. สวิงหัวไม้พัตต์ขึ้นและลงผ่านลูกกอล์ฟในแนวที่ผิดพลาด
3. หน้าไม้ไม่อยู่ในตำแหน่งสแควร์ขณะกระทบลูก
4. ให้น้ำหนักไม่ถูกต้อง

Thursday, July 12, 2007

วิธีคิด...ให้เหมือนกับนักพัตต์ผู้ยิ่งใหญ่










นักพัตต์ผู้ที่ประสบผลสำเร็จทุกๆ คนล้วนแล้วแต่เชื่อว่า

ตนคือนักพัตต์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น นักพัตต์มือระดับธรรมดาทั่วไปมักจะแพ้ภัยตนเองเพราะเขามักจะมอง ตัวเองว่า เป็นนักกอล์ฟที่พัตต์ไม่ค่อยจะดีมากนัก เขาจำได้เฉพาะลูกที่เขาพัตต์พลาด ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะจดจำลูกที่เขาพัตต์ได้ดี >>นักพัตต์ที่ดีนั้นนอกจากจะเชื่อว่าเขาคือนักพัตต์ที่ดีแล้ว เขายังชอบในกระบวนของการพัตต์อีกด้วย เขามีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าเขาจะพัตต์ลงอย่างแน่นอน คุณเองถึงแม้จะพัตต์ได้ไม่เหมือนกับนักพัตต์ที่ยอดเยี่ยม แต่คุณมีสิทธิ์ที่จะ "คิด"อย่างเขาได้

โปรเอ็ดดี้ บูรณ์เจริญ ได้แนะนำไว้ว่า

ทัศนคติที่ดีเลิศ

การนำเอาทัศนคติที่ดีมาใช้ในการพัตต์นั้นถือเป็นเรื่องที่จำเป็น การมีทัศนคติที่ดีคือการคิดว่า เราคือนักพัตต์ที่ดี การเชื่อมั่นในวิธีการพัตต์ของเรา เชื่อถือในเรื่องของความรู้สึกแทนเรื่องของกลไกในการพัตต์ และเชื่อว่าเราสามารถพัตต์ได้ลงแน่นอน นักพัตต์ที่ดีนั้นมักชอบที่จะพัตต์ เขาไม่เคยกลัวในเรื่องของการพัตต์เลย คุณจะไม่มีทางพัตต์ได้ดีเลยหากคุณลงเล่นกอล์ฟแล้วคิดว่าคุณ คงพัตต์ไม่ได้แน่ๆ ในวันนี้นำความคิดในแง่ดีมาใช้และทดลองแข่งขันกับตนเอง ในการที่พัตต์ในดีที่สุด

เชื่อว่าคุณพัตต์ได้

คุณไม่มีทางที่จะพัตต์ดีถ้ายังคงเป็นนักพัตต์ประเภทพัตต์ไปแล้ว ก็รอความ หวังให้ลูกลงไป นักพัตต์ที่ดีนั้นรู้ดีว่า เขาจะต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เขาเห็น ยอมรับในการตัดสินใจเล่น และเชื่อว่าต้องพัตต์ลงเมื่อคุณตัดสินใจเลือกเส้นทางพัตต์แล้วใ ห้ยึดมั่น ในเส้นทางนั้นและวิธีที่จะพัตต์แบบที่ตั้งใจไว้อย่าเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าคุณจะพัตต์พลาดมาแล้วหลายครั้งก่อนหน้านี้ก็ตาม

มีสมาธิอยู่ที่การพัตต์

ในเมื่อเป้าหมายคือการพัตต์ให้ลงหลุมก็ควรที่จะเอาใจใส่ในกระบวนการ
ของการที่จะพัตต์ คุณจะต้องมีสมาธิในทุกเรื่องที่เป็นเรื่องของกระบวนการพัตต์

เริ่มจากการอ่านกรีน เลือกเส้นทางพัตต์ การเล็งหน้าพัตเตอร์สู่เป้าหมาย
การรับความรู้สึกธรรมชาติจากตัวคุณเองให้เข้ามาตัดสินใจ
ถ้าคุณทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีคุณมีโอกาสมากในการที่จะพัตต์ลง

เชื่อมั่นในเรื่องของสัมผัสและความรู้สึก

นักพัตต์ที่ยอดเยี่ยมของโลกชื่อ Ben Crenshaw กล่าวว่า "ถ้าคุณต้องการเป็นนักพัตต์ที่ดี คุณจะต้องมีความรู้สึกที่ดีเมื่อคุณอยู่บนกรีน" นักพัตต์ที่ยอดเยี่ยมนั้นเชื่อถือในสัญชาตญาณของเขาเอง ไม่ใช่เรื่องของกลไกในการพัตต์ เขาใช้ ความรู้สึก,สัมผัส, สัญชาตญาณและการจินตภาพ เขารู้วิธีที่จะพัตต์ให้ลงหลุมโดยปราศจากการคิดว่าจะทำ "อย่างไร" ที่จะพัตต์ให้ลงหลุม

ใช้จินตนาการของคุณเอง

การพัตต์คือกระบวนการเกี่ยวกับการมองซึ่งต้องนำเรื่องของการจิน ตนาการมาใช้ คุณจะต้องเป็นผู้ที่อ่านสภาพกรีนได้ดีและ "มองเห็น" หรือ "รู้สึก"ได้กับเส้นทางที่คุณคิดว่าใช่ การจินตนาการเป็นการช่วยให้คุณอ่านกรีนได้และเลือกเส้นทางที่ลู กจะวิ่งไปได้ ยิ่งคุณมองเห็นเส้นทางพัตต์ชัดเจนมากเท่าไร คุณก็มีโอกาสที่จะพัตต์ลงได้มากเท่านั้น
ข้อมูลจาก นิตยสาร SmartGolf
http://www.smartgolhtmlf.co.th/NO.43-Page.221.

การเล่นลูกสั้นข้างกรีน

การเล่นลูกสั้นข้างกรีน
โดย โปรอุ๋ย



วางหน้าเหล็กก่อนแล้วค่อยจับกริพ ลูกค่อนไปทางเท้าขวา
มือจับกริพอยู่หน้าลูก น้ำหนักตัวอยู่เท้าหน้า (เท้าซ้าย)

Point : ต้องคำนึงถึงพื้นที่จากลูกไปหาหลุมมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีพื้นที่ให้ลูกตก และวิ่งมากควรเล่นลูกพุ่ง แต่ถ้าพื้นที่ตกน้อย ควรเลือกเล่นลูกโด่งดีที่สุด

การเล่นลูกสั้นข้างกรีน
ด้วยเหล็กที่มีองศาหน้าไม้ต่ำ เช่น เวดจ์เบอร์ต่างๆ อาทิ 52 , 56 , 60 เป็นต้น ซึ่งการเล่นลูกข้างกรีนด้วยเหล็กองศาต่ำ และด้วยอิทธิพลของหน้าเหล็ก ( หน้าหงาย ) จะทำให้วิถีลูกที่เกิดขึ้นจะโด่งโปรอุ๋ยแนะนำการเล่นลูกสั้นข้างกรีนด้วยเวดจ์ ที่มีองศาต่ำ ( หน้าหงาย ) แต่จะเล่นลูกให้พุ่งต่ำ เริ่มต้นแอดเดรสเท้าไม่แยกกว้างมาก น้ำหนักตกค่อมมาทางเท้าซ้าย
โปรอุ๋ยแนะนำ
ให้วางหน้าเหล็กหลังลูกก่อน แล้วค่อยจับกริพ
ให้ตำแหน่งลูกค่อนไปทางขวา มือจับกริพอยู่หน้าลูก
จังหวะแบ็คสวิงหักข้อมือ ความรู้สึกอยู่ที่หัวเหล็ก
ตลอดการเล่นลำตัวไม่เคลื่อนที่ ดาวน์สวิงตีลูกให้ผ่าน
รักษาแกนให้คงที่โดยไม่รีบหันหน้าตามสักครู่
และรักษาหลังมือซ้ายชี้ไปที่เป้าหมาย

Friday, July 6, 2007

จะตีให้แม่นธง ต้องกะระยะแม่นยำ


จะตีให้แม่นธง ต้องกะระยะแม่นยำ
คอลัมน์ กอล์ฟทิปส์ โดย พิษณุ นิลกลัด
เวลาเราซ้อมเหล็กสั้นในรัศมี 80 หลารอบกรีน เราซ้อมเพื่อตีให้แม่นระยะ
ซ้อมจนรู้ว่าตีระยะ 60 หลา ถ้าใช้ ฟิตชิ่ง เวดจ์ ต้องแบ็กสะวิงยาวแค่ไหน
ลงเหล็กหนักเบาเท่าไหร่ และฟอลโลว์ทรู ยาวขนาดไหนหรือ
ถ้าใช้แซนด์เวดจ์ตีให้ได้ 60 หลาพอดีต้องสะวิงอย่างไร
จะเป็นนักเล่นลูกสั้นชั้นเซียนหรือเป็นนักกอล์ฟฝีมือดีระยะภาย
ในรัศมี 80 หลารอบกรีนต้องแม่นทุกระยะ
เดฟ เพลซ์ ครูลูกสั้นหมายเลข 1 ของโลกบอกว่า
แม้ท่านจะตีเหล็กสั้นแม่นระยะ แต่ท่านเป็นคนกะระยะไม่แม่นยำ
โอกาส ตีขึ้นไปได้พัตเบอร์ดี้ พัตพาร์ระยะใกล้ๆ ก็มีไม่มาก
ยกตัวอย่างเช่น ลูกห่างธง 65 หลา แต่เมื่อท่านยืนอยู่ที่ลูกแล้วมองไปที่ธง
ท่านกะว่าลูกห่างธง 60 หลา แล้วท่านก็ตี แบบตั้งใจให้ได้ระยะ 60 หลา
เพราะท่านซ้อมมาอย่างดีเยี่ยม ตีเหล็กสั้นแม่นระยะมาก
ตั้งใจตี 60 หลาก็ได้ 60 หลาเป๊ะ แปลว่า ลูกที่ท่านตีออน
จะห่างหลุม 5 หลา
ซึ่งเท่ากับ 15 ฟุตและระยะพัต 15 ฟุต ไม่ใช่ระยะทำพัตเดียวนี่เอง
ที่เดฟ เพลซ์ บอก ตีแม่นระยะ แต่สายตากะระยะไม่แม่น
โอกาสทำพัตเดียวก็น้อยลง
เดฟบอกว่านักกอล์ฟสมัครเล่นไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ที่กะระยะด้วยสายตา
ได้แม่นยำ เขาเคยเอาลูกกอล์ฟไปวางในแฟร์เวย์ห่างจากหลุม 53 หลา
ให้ลูกศิษย์เกือบ 30 คนไปยืน ที่ลูกแล้วกะระยะว่าลูกห่างหลุมเท่าไหร่
ปรากฏว่ามีไม่ถึง 1 ใน 3 ที่กะระยะได้ใกล้เคียง คืออยู่ภายในรัศมี
ไม่เกิน 3 หลา
รอบหลุม (ตอบว่า 50 ถึง 56 หลา)
ส่วนอีก 2 ใน 3 ตอบผิดเกิน 3 หลาบางคนตอบผิดทั้ง 10 หลา
ด้วยเหตุนี้เอง เดฟจึงแนะว่าถ้าไปเล่นสนามที่ไม่มีตัวเลขบอกระยะ
ที่หัวสปริงเคลอร์ หรือไม่มีตัวเลขบอกระยะ
เมื่ออยู่ห่างหลุมน้อยกว่า 70 หลา
ขอให้ท่านนักกอล์ฟใช้วิธีเดินนับก้าวจากลูกไปหาธง
หรือเดินครึ่งทางแล้วคูณด้วย 2 จะทำให้ทราบระยะจากลูก
ถึงธงอย่างแม่นยำ
ขอให้ซ้อมเดินให้ได้ก้าวละ 1 หลา และเวลาเดินนับก้าวต้องไม่ทำให้เกมชักช้า
ที่มา http://www.intania66.com/forum/forum_posts.asp?TID=835&get=last

Monday, July 2, 2007

การสโตรกลูก หรือ การดูไลน์






การสโตรกลูก หรือ การดูไลน์
การพัตในระยะรัศมี 4-8 ฟุต เป็นระยะมีโอกาสทำพัตเดียวได้ไม่ยาก และการพัตในระยะนี้มีก็ผลต่อสกอร์ ความมั่นใจและกำลังใจของนักกอล์ฟในการเล่นกอล์ฟเป็นอย่างมาก ลองสังเกตุวันใดที่ท่านนักกอล์ฟสามารถพัตในรัศมีนี้ลงบ่อยๆเกมส์การเล่นและสกอร์จะดีขึ้นอย่างมากๆ ท่านจะกลายเป็นนักกอล์ฟที่พัตได้ดีประจำก๊วนทันที และอาจทำให้เพื่อนร่วมก๊วนออกอาการเป๋ให้เห็น จึงอยากแนะนำให้ซ้อมพัตในช่วงระยะ 4-8 ฟุตให้มาก ถ้าสามารถไปทำการฝึกซ้อมพัตที่กรีนซ้อมพัตในสนามกอล์ฟจะยิ่งดีมาก เพราะนอกจากการฝึกในเรื่องของการสโตรกลูกแล้ว นักกอล์ฟยังสามารถซ้อมพัตในไลน์แบบต่างๆ ทั้ง ไลน์ซ้าย ขวา ขึ้น ลง ต่างๆ

การฝึกอ่านกรีนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ นักกอล์ฟบางท่านวันไหนไปออกรอบสนามที่ไม่ได้เล่นประจำ ไปได้แคดดี้ถือถุงดูไลน์ไม่เป็นหรือไม่เก่ง โดยเฉพาะเวลาไปเล่นสนามภูเขา แคดดี้ดูไลน์ไม่เป็น เลยทำให้นักกอล์ฟแทบจะพัตไม่เป็นเอาเสียเลย เพราะดูไลน์และสโลปบนกรีนไม่ออก เนื่องจากเราเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นไม่มีแคดดี้ส่วนตัวเหมือนโปรในทัวร์ นักกอล์ฟทุกท่านควรฝึกอ่านไลน์ด้วยตัวเองให้ได้ ฝึกซ้อมทั้งการพัตและทักษะการดูไลน์ไปด้วย จินตนาการทางวิ่งของลูกกอล์ฟให้ได้ แรกๆอาจจะแค่เป็นการเดาผิดเดาถูก การฝึกพวกนี้ใช้เวลาสักช่วงหนึ่งนักกอล์ฟก็จะถนัดและชำนาญไปเอง การอ่านไลน์นั้นมีเทคนิคพื้นๆ หลายเทคนิคนักกอล์ฟสามารถหาตำรามาอ่าน,ปรึกษาโปร,หรือแม้กระทั่งถามจากแคดดี้ที่มีประสบการณ์ได้

นอกจากการฝึกสโตรกพัตและฝึกฝนการดูไลน์แล้ว ในการออกรอบจริงเราลองสังเกตุตัวเองว่า การพัตที่ไม่ดี ไม่ลงหลุมในแต่ละครั้งนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น
1. พัตไม่ตรงจากจุดที่เล็งไว้บ่อยๆ เช่นพัตให้ไลน์ปากหลุมซ้าย แต่กลับตบพัตเตอร์ลูกวิ่งพลาดไป อีก 1 หลุม ลักษณะนี้คือพัตผิดจากเป้าที่เล็ง ควรไปแก้ที่การสโตรกหรือการเล็ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการพัตต์ทีเดียว ถ้าคุณพัตต์ไม่ตรงตามที่เล็งไว้ ก็ยากที่คุณจะอ่านไลน์ให้เก่งได้ ไลน์เดียวกัน แต่เวลาผ่านไปคุณอาจจะอ่านคนละอย่างได้ ในเมื่อคุณไม่มีความเที่ยงตรงในการสโตรคพัตต์เตอร์ และอีกเรื่องคือถ้าคุณสโตรคพัตเตอร์ไม่ตรง การย่อมไม่มีวันพัตต์ลง ยกเว้นฟลุค การสโตรคพัตต์เตอร์ให้ตรงจะช่วยทำให้คุณอ่านไลน์ของกรีนได้อย่างแม่นยำ
2. พัต
ออกไปดีตามที่เล็งแต่ดูไลน์ผิดพลาด ควรไปฝีกการดูไลน์เพิ่มเติม3। นน. การพัตไม่ถูกต้อง เบา หรือ แรงไปการพัตที่ดีและที่ไม่ดีทุกครั้งมักจะมีเหตุผลทุกครั้ง ดูไลน์ถูกต้องแต่พัตไม่ดีก็ไม่ลง ดูไลน์ไม่ถูกแต่พัตดีก็ไม่ลง ดูไลน์ถูกสโตรกลูกดีแต่ขาด นน. ก็ไม่ลง บางครั้งดูไลน์ผิดแถมยังพัตผิดแต่ฟลุ๊คลงหลุมดังนั้นถ้าเรารู้สึกว่าพัตไม่ดี ทุกครั้งที่พัตลองสังเกตุดูว่าเรามีปัญหาอะไรมาก เราจะสามารถประเมินการพัตของเราได้และแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดที่สุด

Friday, June 29, 2007

กอล์ฟทิป Golf Tip


ขึ้นเขา - ลงเขา ตีอย่างไร

นักกอล์ฟที่ไม่มีประสบการณ์ พอเจอพื้นลาดลงเขา ขึ้นเขามักจะตีขุดดินก่อนทุกครั้ง ”
“ นักกอลฟ์ที่แก่ประสบการณ์จะได้เปรียบนักกอล์ฟรุ่นใหม่ไฟแรงเสมอ ”
สิ่งหนึ่งที่ทำให้นักกอล์ฟยากก็คือความลาดเอียงของพื้นดิน นักกอล์ฟที่ไม่มีประสบการณ์พอเจอพื้นลาดเอียงลงเขา ขึ้นเขามักจะตีขุดดินก่อนทุกครั้งทำให้หงุดหงิดไม่สนุกกับเกมส์และผลที่ตามมาคือความสับสน ความกังวลรวมถึงความไม่มั่นใจในวงของตัวเอง
1. ซ้อมสวิงลมเพื่อกำหนดจุดที่ไม้จะกระทบพื้น และยืนจรดลูกตามตำแหน่งนั้น
2. เอียงเข้าหาตามไลน์ เช่น ในตำแหน่งลงเขา น้ำหนักท่านจะมาอยู่ที่ขาขวามากขึ้น ส่วนไลน์ขึ้นเขาก็ให้นำหนักจะมาอยู่ที่ขาซ้ายจะมากน้อยแล้วแต่ความชันของไลน์นั้น ๆ
การรักษาน้ำหนักให้สมดุลย์ไม่โยกซ้ายเอียงขวาก็สำคัญ ในช๊อตนี้ขอให้ท่านนักกอล์ฟตีด้วยความเชื่อมั่นและนุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต้องขอเน้น ห้ามกระชากไม้ลงมาอย่างเด็ดขาด ส่วนสำหรับนักกอล์ฟมือใหม่ให้ขึ้นไม้ครึ่งวงก็พอ ไม่จำเป็นต้องขึ้นเต็มวงเนื่องจาการขึ้นไม้เต็มวงจะทำให้ไม่สามารถรักษาสมดุลย์ได้ จับกริพสั้นลงมาประมาณ 1 นิ้ว แล้วลองดาวน์สวิงโดยจินตนาการว่าท่านกำลังตีอยู่ในไลน์ปกติ ( แต่ก่อนจะตีช๊อตจริงขอให้ท่านนักกอล์ฟสวิงซ้อมอีกครั้งเพื่อเช็คจุดหน้าไม้กระทบลูกและเพื่อจำความรู้สึก ) หลังจากนั้นก็ตีตามความรู้สึกเมื่อสักครู่ ถึงแม้ว่าระยะจะหายไปบ้างแต่ก็ยังดีกว่าตีฉึกขุดดินหลังลูกเสียฟรี ๆ ไปหนึ่งช๊อต ข้อสำคัญอย่างเพิ่งรีบหันไปดูผลงานเร็วนัก ( ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงามนะจะบอกให้ )
“ การออกรอบก็เหมือนกับการสะสมวิชา รู้จักวิธีแก้ไขในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะเหล่านั้นก็คือปรัชญาของกีฬากอล์ฟ ดังเช่นชีวิตของคนเรา … จะคาดหวังให้ทุก ๆ อย่างราบรื่นตามใจคิดนั้นเป็นไปไม่ได้ เอาเป็นว่ากอล์ฟเป็นกีฬาที่สู้กับตัวเอง และใครก็ตามที่แก้ปัญหาได้ดีกว่าก็คือผู้ชนะนั่นเอง …… . ”

Friday, June 22, 2007

กอล์ฟทิป Golf Tip

ตีลูกทวนลม

ตีลูกทวนลม กระแสลมถือว่าเป็นอุปสรรคที่อยู่คู่กับสนามกอล์ฟทุกสนาม

โดยเฉพาะสนามกอล์ฟในประเทศไทยเราหลายๆ สนามจะโล่งไม่มีต้นไม้

ใหญ่ช่วยบังลม จึงทำให้กระแสลมยิ่งมีผลอย่างมากต่อวิถีของลูก

ถ้ากลยุทธการเล่นหรือการสวิงผิดพลาด ลมแรงที่พัดสวนทางจะสร้าง

ปัญหาหนักให้กับนักกอล์ฟ

นักกอล์ฟจำนวนมากพยายามตีให้แรงเพื่อสู้กับลมทำให้ลูกมีแบ็คสปินมาก

ลูกจะลอยขึ้นสูงและโดนลมพัดออกห่างจากเป้าหมาย

ดังนั้นเคล็ดลับในการตีลูกทวนลมคือ การตีลูกให้พุ่งต่ำหลบลม




(1) สิ่งแรกที่ต้องทำคือ การเพิ่มเหล็ก เช่นถ้าเป็นระยะเหล็ก 7 ท่านอาจต้องเพิ่มเป็นเหล็ก 6 เหล็ก 5 หรือเหล็ก 4 ให้เหมาะกับความแรงของลม ซึ่งท่านจะสามารถ เรียนรู้การเลือกเหล็กอย่างถูกต้องได้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา หรือ ประสบการณ์ที่จะพบในอนาคต จับกริพให้สั้นลง 1-2 นิ้ว ยืนให้แนวของปลายเท้าเปิดไปทางซ้ายเล็กน้อย ตำแหน่งของลูกอยู่ตรงกับจุดกึ่งกลางระหว่างเท้าทั้งสองข้าง มือล้ำนำหน้าหัวเหล็ก ทิ้งน้ำหนักลงที่เท้าซ้าย 60 %

(2) ลากไม้ออกจากลูก โดยพยายามหักข้อมือให้น้อยกว่าการสวิงปกติ

(3) แบ็คสวิงสามส่วนสี่ของวงสวิงด้วยจังหวะที่นุ่มนวล ให้แขนและลำตัวทำงานไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องถ่ายน้ำหนักไปที่เท้าขวา และไม่ต้องหักข้อมือมากเท่าการสวิงปกติ

(4) ขณะดาวน์สวิงให้ใช้ลำตัวหมุนพาแขนและไม้กอล์ฟสวิงลงหาลูก โดยรักษามือให้นำหน้าหัวเหล็กตลอดเวลาจนหัวเหล็กปะทะลูก และ ฟอลโล่-ทรู ให้หัวเหล็กเลียดต่ำไปจนจบวงสวิงด้วยการทรงตัวที่ดี

(5) ฟอลโล่-ทรูให้สูงเท่ากับความสูงของแบ็คสวิง ข้อควรจำคือต้องสวิงด้วยจังหวะที่นุ่มนวล การตีแรงเกินไป จะทำให้ลูกมีแบ็คสปินมากลอยสูงขึ้นในอากาศ ถูกลมหอบเสียระยะและทิศทาง

Friday, June 15, 2007

กอล์ฟทิป Golf Tip



การเล่นลูกล็อปช็อต (ลูกโด่ง)

เซ็ทอัพการยืนกว้างเท่ากับช่วงไหล่
น้ำหนักตกอยู่ด้านขวา

ตำแหน่งลูกค่อนไปทางเท้าซ้าย
เปิดหน้าเหล็ก คว่ำมือหวามากกว่าปกติ เพื่อรักษาหน้าไม้ให้เปิดอยู่ตลอด
การขึ้นสวิง หักข้อมือเร็ว เพื่อวงสวิงที่ชัน
ดาว์นสวิงลงหนักแน่น ฟอลโล่ทรูให้ผ่าน
ไม่หักข้อมือ
หลังการตีรักษาแกนให้คงที่สักครู่ หน้ายังอยู่ตำแหน่งเดิม
ตัวไม่รีบยืดขึ้น

โดย โปรอุ๋ย
การวางตำแหน่งของลูกกอล์ฟ (Ball Position)
มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำให้วิถีของลูกหรือ Flight Ball นั้นเหมาะสมกับแต่ละเหล็กหรือหัวไม้นั้นๆ ซึ่งเหล็กสั้นจะมีองศา (Loft) ที่สูงกว่าจะทำให้ลูกนั้นลอยโด่งมากกว่าเหล็กยาวที่มีองศาชันกว่า ซึ่งเราสามารถ

แบ่งการวางตำแหน่งของลูกได้ 5 ลักษณะดังนี้

เหล็กสั้น (9-PW-SW) ให้วางลูกไว้ใกล้เข้ามาในขาด้านในเท้าขวาสำหรับคนถนัดขวา , เท้าซ้ายสำหรับคนถนัดซ้าย โดยมีตำแหน่งต่างกัน ครึ่งนิ้วลดหลั่นกันลงมา เพราะจะทำให้หน้าเหล็กปะทะลูกก่อน ทำให้ลูกมีสปินและไม่ลอยโด่งจนเกินไป

เหล็กกลาง ( 6-7-8 ) ให้วางลูกไว้ที่กลางลำตัวได้ทั้ง 3 เหล็ก

เหล็กยาว ( 3-4-5 ) ให้วางลูกถัดมาจากตำแหน่งกลางลำตัวไปทางด้านหน้า ( เท้าซ้ายสำหรับคนถนัดขวา , เท้าขวาสำหรับคนถนัดซ้าย ) โดยมีระยะห่างกันครึ่งนิ้ว ไล่ขึ้นไปตั้งแต่ 5-4-3

หัวไม้ (3-5-7-9) ให้วางห่างจากส้นเท้าด้านหน้าประมาณ 2 นิ้ว

หัวไม้ 1 Driver ให้วางตรงกับส้นเท้าด้านหน้า


Chip
เป็นลักษณะการเล่นที่ตั้งใจเล่นให้ลูกลอย 2 ระดับคือ ต่ำ กับปานกลาง ไม่ลอยโด่งซึ่งถือเป็นลูก Lob หรือ Flop ดังนั้นลักษณะของหน้าไม้จึงค่อนข้างอยู่ข้างหลังมือขณะอิมแพ็คและฟอลโลทรูค่อนข้างต่ำเพื่อต้องการให้ลูกลอยไม่โด่งมาก โดยปกติเมื่อลูกตกบนพื้นกรีนแล้วจะวิ่งเล็กน้อยไม่วิ่งมากนักเพราะหากวิ่งมากกว่าระยะที่ลอยก็จะเป็นลักษณะของลูก Chip-and Run การลากไม้ออกไปและส่งผ่านไปเพียงเล็กน้อยนั้น ทำให้เกิดเป็นข้อแตกต่างจากการ Pitch ซึ่งจะลากและส่งยาวมากกว่า






Chip-and-Run
ลักษณะช่วงระยะการวิ่งของลูกหลังจากที่ตกพื้นแล้วจะยาวมากกว่าระยะที่ลอยมา ด้วยลักษณะรูปแบบนี้ทำให้ตำแหน่งของลูกจะอยู่นอกเท้าขวาเพราะยิ่งลูกอยู่นอกร่างกายทางด้านขวามากเท่าใด การลากไม้สวิงก็ยิ่งได้น้อยมากเท่านั้น เมื่อหัวไม้เคลื่อนน้อยทำให้มีระยะการส่งที่ยาวขึ้นเป็นลักษณะ “ ลากสั้นดันยาว ” ทำให้ลูกลอยต่ำและวิ่งยาวมากกว่า ทำให้ง่ายในการควบคุมทิศทาง

เบสิคการเล่นลูกชิพ แอนด์ รัน
การยืนให้แคบ
ตำแหน่งลูกอยู่เท้าขวา
หน้าไม้ตั้ง มือจับกริพอยู่หน้าลูก
น้ำหนักตัวอยู่เท้าซ้าย
แบ็คสวิงข้อมือทำงานน้อย
ฟอลโล่ทรูเป็นทั้งชิ้น ไม่หักข้อมือ หลังมือหันไปทางเป้า
จังหวะการเล่นนุ่มนวล ราบเรียบ ลำตัวนิ่งจนกว่าจะหยุดนิ่ง

Putt-Chip
เป็นการพัตต์จากบริเวณนอกกรีนด้วยเหล็ก นิยมใช้เล่นกันในปัจจุบันเพราะง่ายและปลอดภัย การยืน การจับไม้การสโตรคลูกเหมือนกับการพัตต์ทุกประการ แม้กระทั่งการให้น้ำหนัก การเล่นลักษณะนี้สามารถควบคุมทั้งทิศทางและน้ำหนักได้ดีกว่าการเล่นแบบ Chip





ลูกชิพยาว
ควรเลือกหน้าไม้ที่มีองศาต่ำที่สุดจะส่งลูกลอยไปตกบนกรีนแล้วเริ่มวิ่งเข้าหาธงได้ทันทีที่สุด
การซ้อมชิพยาวๆ จนเกิดความแม่นยำแล้ว เหล็กสั้นและกลางของท่านก็จะแม่นยำขึ้นไปด้วย หากแต่ท่านต้องรู้จักซ้อมชิพให้เป็นการย่อส่วนลงมาของวงสวิงเต็ม จับไม้ให้สั้นจนเกือบถึงก้าน ยืนเล็งเหมือนกับวงสวิงเต็ม ไม่แนะนำให้นักกอล์ฟฝึกใหม่ยืนเปิดสักเท่าไหร่เพราะจะทำให้สับสน
จุดไกลสุดของแบ็คสวิงและจุดขบของวงควรมีระยะที่เท่ากันเพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้ยั้งมือตอนจะตีลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักกอล์ฟมือใหม่พลาดมากที่สุด หากต้องการตีให้สั้นลงไม่ใช่ยั้งมือให้เบาลง ซึ่งสิ่งที่เราต้งอการสำหรับการชิพที่แน่นอนและแม่นยำคือการเร่งส่งหน้าไม้ไปที่เป้าหมายเหมือกับท่านจะตัดหญ้าบนพื้นให้ขาดในการเหวี่ยงทีเดียว ที่สำคัญคือขอให้มือท่านำหน้าไม้ตลอดเวลา
เลือกหน้าไม้ที่มีองศาต่ำที่สุด จะส่งลูกลอยไปตกบนกรีนแล้วเริ่มวิ่ เข้าหาธงได้ทันที



วงหาย
วงหาย***ก่อนอื่นต้องเช็ค การจับกริ๊ฟ และ ท่ายืนจรดลูก เสียก่อน ถ้าทั้งสองอย่างไม่มีปัญหา ( มั่นใจได้ว่าท่านไปได้รับ กอล์ฟทิปส์อะไรมาสักอย่างและไปเพ่งทำอยู่กับตรงนั้นมากเกินไปจนลืมเบสิคสำคัญเรื่องของการหมุนเอว ) “ ลองหมุนเอวทั้งแบคสวิง และดาวน์สวิงแล้ววงของท่านจะกลับมาเอง ”
1. เทคนิคการหมุนเอว ขอให้นึกถึงการหมุนสะดือของท่านมาทางขวาจนน้ำหนักถูกถ่ายมาที่ส้นเท้าขวาและหมุนสะดือกลับจนชี้ไปที่เป้าหมาย และน้ำหนักถูกถ่ายกลับมายังเท้าซ้าย
2. ในการเริ่มต้นแบคสวิง คือ ให้ท่านหมุนกระเป๋าขวา ( กระเป๋าหลัง ) จนเกือบชี้ไปยังเป้าหมาย
ไม่ว่าท่านจะใช้วิธีใดก็ตาม เน้นว่า ต้องเป็นการ “ บิด ” หรือ “ หมุน ” เอา ไม่ใช่โยกถ่ายน้ำหนักกลับไปมาระหว่างเท้า ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาการโยกเยกหรือ Sway และในที่สุดคือท่านจะตีลูกไม่แน่นอน


ที่มา http://www.egatgolf.egat.co.th/general/golftrip.html



จับกริพก่อนจรดไม้กอล์ฟ
กอล์ฟที่มีปัญหาในการจับกริพ ไม่ว่าจะเกิดจากการหงายฝ่ามือมากไปหรือปิดฝ่ามือจนแขนบิดขณะจรดไม้กอล์ฟนั้น ส่วนมากเกิดจากการฝึกขั้นพื้นฐานที่ละเลยการจับกริพให้ถูกต้อง ทำให้การพัฒนาฝีมือต่อไปยากขึ้นและสร้างปัญหาในการสวิงที่ร่างกายต้องชดเชยการหมุนจากหน้าไม้ที่เปิดหรือปิดเนื่องจากการจับกริพ
นักกอล์ฟที่เกิดปัญหานี้ มาจากการพยายามปรับการจับกริพในขณะที่ยืนจรดไม้กอล์ฟเพื่อชดเชยวิถีของลูกกอล์ฟที่ลอยออกไปผิดแนว เช่น สไลซ์หรือฮุค ด้วยการหงายหรือปิดฝ่ามือให้หน้าไม้เปิดหรือปิดตามไปด้วย ซึ่งการปรับการจับกริพนี้โดยปกติมักใช้เพื่อผลของวิถีลูกที่ต้องการเป็นบางครั้ง แต่เมื่อปฏิบัติจนเคยชิน ก็จะกลายเป็นการจับกริพที่เปิดหรือปิดฝ่ามือและหน้าไม้กอล์ฟมากเกินไป
วิธีการแก้ไขนั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขการจับกริพขณะที่ยืนจรดไม้กอล์ฟครับ ผมเห็นนักกอล์ฟหลายท่านพยายามจับหรือหมุนฝ่ามือเพื่อปรับการจับกริพหลังจากยืนจรดไม้กอล์ฟเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้หน้าไม้กอล์ฟหมุนตาม และยังทำให้การหมุนฝ่ามือนั้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือตำแหน่งของนิ้วต่างๆ และไม้กอล์ฟเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งที่เหมาะสม
เทคนิคก็คือให้ฝีกการจับกริพด้วยการถือไม้กอล์ฟให้ชี้ไม้กอล์ฟทั้งอันขึ้นด้านบน และจับกริพในแนวดิ่ง ซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบตำแหน่งของกริพ นิ้ว ฝ่ามือ และแขนได้ง่ายกว่า แล้วจึงนำไม้กอล์ฟชี้ออกไปด้านหน้าให้ขนานกับพื้นเพื่อตรวจสอบ แล้วจึงยืนจรดไม้กอล์ฟเป็นลำดับสุดท้าย
วิธีนี้ทำให้จับกริพให้ง่ายขึ้นและนอกจากนี้ยังลดปัญหาการเอื้อมมือขวาลงด้านล่างกริพและดึงไหล่ให้ตกลงมากเกินไป อันเป็นสาเหตุให้ไหล่และลำตัวเปิดขณะยืนจรดไม้กอล์ฟอีกด้วยลองสังเกตได้ง่ายจาก
นักกอล์ฟอาชีพส่วนใหญ่ จะจับกริพให้เรียบร้อยหลังจากเล็งแนวเป้าหมาย ก่อนยืนจรดไม้กอล์ฟที่ตำแหน่งลูกกอล์ฟ เพื่อป้องกันการขยับมือและทำให้หน้าไม้บิดออกจากแนวเป้าหมายที่เล็งไว้นั่นเองครับ นอกจากนี้หากไม่มั่นใจ ยังสามารถใช้วิธีนี้เช็คการจับกริพได้ตลอดเวลาอีกด้วยครับ ลองดูนะครับ รับรองว่าเมื่อคุณจับกริพได้มั่นใจ วงสวิงของคุณจะพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ!

โปรโทนี่ มีชัย


ตีให้ตรงด้วยการสวิงไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมาย
ผมมักจะเน้นพื้นฐานในการสร้างวงสวิงที่ถูกต้องและสามารถพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
อยู่ 3 ข้อหลัก ๆ คือ
การจับกริพ
การเล็งแนวเป้าหมาย
และการจัดท่ายืนจดไม้กอล์ฟ ให้ถูกต้องอยู่เสมอ
ส่วนขั้นตอนต่าง ๆ ของการสวิงนั้นเริ่มต้นจากการเข้าใจกลไกของ วงสวิง
การทำงานของไม้กอล์ฟ ตัวเรานั้นเพียงสวิงไม้กอล์ฟให้เหมาะสม
วงสวิงที่ดีก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติในการเคลื่อนไหวของเราเองครับในการสวิงนั้น ผมจะเน้นถึงการคิดถึงเป้าหมายที่เราต้องการส่งลูกกอล์ฟออกไปเป็นหลัก หลังจากจับกริพ เล็งแนวเป้าหมาย และยืนจดไม้กอล์ฟให้ถูกต้องแล้ว
นักกอล์ฟควรมีสมาธิอยู่กับตำแหน่งเป้าหมายแล้วสวิงไม้กอล์ฟตามแนวที่เล็งไว้
ด้วยความคิดเสมือนเราจะสวิงไม้กอล์ฟเพื่อส่งไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมายนั้น
ความคิดในการสวิงไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมายนี้ควรจะอยู่กับเราตลอดขั้นตอนการสวิง
ตั้งแต่เริ่มต้นจดไม้กอล์ฟจนถึงจบวงสวิงครับ
นักกอล์ฟที่มีปัญหาในการสวิงไม้กอล์ฟออกนอกแนวเป้าหมายที่เล็งไว้
ผลก็คือ วิถีและทิศทางการลอยออกไปของลูกกอล์ฟจะออกนอกแนวเป้าหมาย
ตามไปด้วย ทั้งการเลี้ยวไปทางใดทางหนึ่งในลักษณะต่าง ๆ หรือพุ่งตรงออกไป
คนละทิศทางกับการเล็ง ซึ่งหากสวิงหลุดออกนอกแนวเป้าหมายที่เล็งไว้
รวมกับข้อผิดพลาดที่เกิดจากขั้นตอนพื้นฐาน เช่น การจับกริพ การยืน
หรือการเล็งแนวเป้าหมายที่ไม่เหมาะสมแล้ว
ผลงานก็จะยิ่งเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้นไปอีกครับ
ขั้นตอนพื้นฐาน และแนวคิดในการสวิงที่เรียบง่ายเช่นนี้
จะทำให้นักกอล์ฟสามารถตั้งสมาธิอยู่กับเกมการเล่นและการสวิงที่ดีได้ง่ายขึ้น
ตามแนวคิดในการใช้หลักสูตรการสอนกอล์ฟจากหลักธรรมชาติของฮาร์ทแลนด์ กอล์ฟ
สคูลส์ที่ผมเน้นอยู่เสมอ ลองนำไปฝึกฝนและตรวจสอบการสวิงให้อยู่ในแนวเป้าหมายเสมอ
รับรองว่าผลงานจะดีขึ้นอย่างแน่นอน...เชื่อผม นะครับ !.

การทำ พรีช็อตรูทีน

1. เริ่มต้นด้วยการยืนมองจากหลังลูกและวาดเส้นในใจไปหาเป้าหมาย ให้นึกภาพนี้ไว้ในใจ

2. จากจุดที่ยืนอยู่หลังลูก สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการวาดภาพการสวิงของท่าน เช่นกันครับ ให้นึกภาพนี้ไว้ในใจ

3. จากนั้น ให้ยืนในท่าพร้อมเตรียมตีและนึกภาพเหล่านั้น และสวิงไม้กอล์ฟของท่านไปยังเป้าหมาย ครับและเคล็ดลับนี้จะช่วยให้ทุก ๆ ช็อตของท่านนั้นพัฒนาขึ้น

เชื่อผมว่าการเรียนรู้ในวงสวิงที่ถูกต้องบวกกับการเรียนรู้ที่จะนึกภาพ ที่ถูกต้องไว้ในใจ จะทำให้ท่านตีกอล์ฟได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน.

การทรงตัวดี

การทรงตัวดีขึ้นอยู่กับความตั้งใจจดจ่ออยู่ที่ลูกขณะขึ้นไม้ และการถ่ายเทน้ำหนักตัวจากเท้าขวาไปซ้ายขณะลงไม้ ท่านควรเล็งลูกด้วยความตั้งใจขณะขึ้นไม้อย่างบรรจง ทิ้งน้ำหนักตัวลงไปบนเท้าขวา ขณะลากไม้ออกห่างไปด้านหลังลูก ช่วง 6 นิ้วแรกของการขึ้นไม้เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของการสวิง ซึ่งจะช่วยให้ท่านมีการทรงตัวดีตลอดวงสวิง


การพัตต์

มีแบบฝึกง่ายๆสำหรับนักกอล์ฟทุกท่านที่มีปัญหาสโตรคพัตต์ที่ไม่ได้น้ำหนัก
ให้ลองนับจังหวะ "หนึ่ง-สอง"ในใจ โดยระยะการขึ้นไม้และฟอลโล่ว์ทรูต้องเท่ากัน
คล้ายการแกว่งตุ้มนาฬิกาจะช่วยให้การพัตต์นิ่มนวลและสม่ำเสมอมากขึ้น
อย่าพยายามสโตรคพัตต์แบบกระแทก
ถ้าให้ดียิ่งขึ้นเมื่อพัตต์เสร็จควรนับ 1-2-3 ในใจแล้วค่อยมองลูก
จะทำให้ลูกวิ่งตรงเข้าหาหลุมอย่างมั่นคง

การชิพลูก
โดยโปรป๋อง

ในการชิพลูกนั้น มีองค์ประกอบในการเล่นที่สำคัญๆ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ
และความเสมอต้นเสมอปลายของการเล่นช้อทนี้ อยู่อย่างน้อยสี่ถึงห้าจุด
ที่ผมจะฝึกให้ลูกศิษย์จำให้ได้และทำให้ถูกเสมอ และจะขอแนะนำเทคนิคนี้
โดยสังเขปให้ทุกคนที่สนใจที่จะปรับปรุงการเล่นของตนเองได้นำไปฝึกซ้อมดังนี้:
ภาพที่ 1: การเซ็ทอัพ
ภาพที่ 2: การสวิง




1: การเซ็ทอัพ
A. ตัว และน้ำหนักตัว ส่วนใหญ่อยู่หน้าลูก
B. ตั้งสมาธิอยู่ที่หน้าอก ไหล่ แขน ที่ประสานกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
C. ข้อมือทั้งสองตรง
D. น้ำหนักตัวตกลงที่เข่าและข้อเท้าซ้าย ขาซ้ายต้องมั่นคง เป็นฐานรองรับการสวิง

2: การสวิง
A. ตัว และน้ำหนักตัว ส่วนใหญ่อยู่ที่เดิม
B. หน้าอก ไหล่ และแขน สวิงผ่านลูกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
C. ข้อมือทั้งสองตรงและแข็ง ไม่มีการหักหรือพลิก
D. น้ำหนักตัวตกลงที่เข่าและข้อเท้าซ้ายเหมือนเดิม ขาซ้ายไม่ได้ขยับเลย
E. หน้าเหล็กเปิดหงายขึ้นฟ้า เพื่อควบคุมให้เหล็กสัมผัสลูกด้วยลอฟท์สูงสุดของมัน และลูกที่ออกไปมีแบ็คสปินสูงสุด

นั่นคือสิ่งที่ผมคิดถึงทุกครั้งที่ผมชิพลูก และสอนลูกศิษย์ของผมให้ทำได้อย่างสม่ำเสมอ ผมหวังว่าทิปนี้จะช่วยให้คุณควบคุมลูกชิพของคุณได้ดียิ่งขึ้นอย่างมากทีเดียว ความเชี่ยวชาญในการชิพลูกคืออาวุธสำคัญที่จะช่วยให้นักกอล์ฟลดสกอร์ได้มากทีเดียว...

ลูกสไลซ์
ลูกออกไปทางซ้ายของแนวเป้าหมาย แล้วจึงเลี้ยวกลับไปจบทางด้านขวาของแนวเป้าหมาย
ให้คุณตรวจสิ่งต่อไปนี้
การเล็ง : หน้าไม้ของคุณต้องไม่เปิดมากไป

กริพ : มือทั้งสองของคุณอาจบิดไปทางด้านซ้ายของด้ามไม้มากเกินไป ซึ่งเรียกว่าเป็นกริพแบบ Weak ทำให้ขณะที่คุณสวิงผ่านลูก หน้าไม้ของคุณจะเปิด

ตำแหน่งของลูก : ตำแหน่งลูกของคุณตอนที่คุณจรดลูกนั้นอาจอยู่ทางด้านหน้ามากเกินไป ทำให้ไหล่ของคุณเปิดตั้งแต่แรก

ความกว้างของเท้า : คุณอาจยืนแคบเกินไป ทำให้ขณะที่สวิงคุณยืนไม่มั่นคง ทำให้ขณะที่สวิงคุณใช้แขนมากเกินไป สะโพกทำงานน้อย

การจัดร่างกาย : เท้า สะโพก และไหล่ของคุณ อาจชี้ไปทางซ้ายของแนวเป้าหมายอย่างมาก ทำให้คุณสวิงไม้เป็นแนวจากด้านนอกเข้าด้านใน คือแนว out-to-in

ท่ายืน : คุณอาจยืนไกลลูกมากเกินไป

การสวิง : เป็นไปได้ว่าขณะที่ถอยไม้ขึ้น คุณเปิดหน้าไม้เร็วเกินไป หรือคุณถอยไม้ออกนอกแนวเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้สะโพกของคุณหมุนไม่พอ



กลเม็ดการแก้ลูก Slice เป็น Draw อย่างสวยงาม!

ลูกที่โปรส่วนใหญ่ปรารถนามากที่สุดก็คือลูก Draw เนื่องจากเหตุผล
มากมายก่ายกอง แต่ตัวที่สำคัญที่สุดคือป้องกันไม่ให้มัน Slice
ซึ่งจะน่าเกลียดและเสียหายมากนั่นเอง เรามาลองฝึกสั่งลูกให้ไกล
และ Draw เพื่อป้องกันลูกกล้วยหอมกันเลยดีกว่าครับ

เริ่มด้วยการจับกริพให้ Strong เล็กน้อย แรงบีบกริพเบา (Firm แต่ไม่แน่น)
ลากไม้ขึ้นให้ยาวตามธรรมชาติ
ศอกซ้ายที่ตำแหน่ง 10 น. (ศีรษะคุณคือ 12 น.) งอเล็กน้อย เพื่อลด Tension
(ซึ่งจะสูงถ้ายันให้ตึง) เพื่อไม่ให้เกิดการตีจากข้างบนและเสียอัตราเร่ง
ของวงและการทรงตัว และเพื่อให้เกิด Swing Speed ที่สูงในขณะตี
ไหล่และลำตัวหมุนจนถึงมุม 90 องศา (กับแนวลูก) อย่างนิ่มนวล
ลงไม้ให้มือเคลื่อนที่ใกล้ตัว
หน้าไม้ Impact ลูก ที่ด้านใน คือตำแหน่ง 4 น.
(ขณะที่ตำแหน่ง 6 น. อยู่ใกล้ตัวคุณ และ 12 น. อยู่ตรงข้ามตัวคุณ)
สวิงด้วยความรู้สึกว่าคุณกำลัง โยน หัวไม้ผ่านลูก
พร้อมด้วยความเกร็งของกล้ามเนื้อที่น้อยที่สุด
ลองฝึกทำให้คล่องนะครับ แล้วคุณจะพบว่าตัวเองตีตรงขึ้นมาก ไกลขึ้น,
Draw ได้, โอกาส Slice ลดน้อยลง จนถึงไม่เหลือเลย
โปรกอปรเชษฐ ตยัคคานนท์