การเล่นลูกล็อปช็อต (ลูกโด่ง)
เซ็ทอัพการยืนกว้างเท่ากับช่วงไหล่
น้ำหนักตกอยู่ด้านขวา
ตำแหน่งลูกค่อนไปทางเท้าซ้าย
เปิดหน้าเหล็ก คว่ำมือหวามากกว่าปกติ เพื่อรักษาหน้าไม้ให้เปิดอยู่ตลอด
การขึ้นสวิง หักข้อมือเร็ว เพื่อวงสวิงที่ชัน
ดาว์นสวิงลงหนักแน่น ฟอลโล่ทรูให้ผ่าน
ไม่หักข้อมือ
หลังการตีรักษาแกนให้คงที่สักครู่ หน้ายังอยู่ตำแหน่งเดิม
ตัวไม่รีบยืดขึ้น
โดย โปรอุ๋ย
การวางตำแหน่งของลูกกอล์ฟ (Ball Position)
มีความสำคัญมาก เนื่องจากทำให้วิถีของลูกหรือ Flight Ball นั้นเหมาะสมกับแต่ละเหล็กหรือหัวไม้นั้นๆ ซึ่งเหล็กสั้นจะมีองศา (Loft) ที่สูงกว่าจะทำให้ลูกนั้นลอยโด่งมากกว่าเหล็กยาวที่มีองศาชันกว่า ซึ่งเราสามารถแบ่งการวางตำแหน่งของลูกได้ 5 ลักษณะดังนี้
เหล็กสั้น (9-PW-SW) ให้วางลูกไว้ใกล้เข้ามาในขาด้านในเท้าขวาสำหรับคนถนัดขวา , เท้าซ้ายสำหรับคนถนัดซ้าย โดยมีตำแหน่งต่างกัน ครึ่งนิ้วลดหลั่นกันลงมา เพราะจะทำให้หน้าเหล็กปะทะลูกก่อน ทำให้ลูกมีสปินและไม่ลอยโด่งจนเกินไป
เหล็กกลาง ( 6-7-8 ) ให้วางลูกไว้ที่กลางลำตัวได้ทั้ง 3 เหล็ก
เหล็กยาว ( 3-4-5 ) ให้วางลูกถัดมาจากตำแหน่งกลางลำตัวไปทางด้านหน้า ( เท้าซ้ายสำหรับคนถนัดขวา , เท้าขวาสำหรับคนถนัดซ้าย ) โดยมีระยะห่างกันครึ่งนิ้ว ไล่ขึ้นไปตั้งแต่ 5-4-3
หัวไม้ (3-5-7-9) ให้วางห่างจากส้นเท้าด้านหน้าประมาณ 2 นิ้ว
หัวไม้ 1 Driver ให้วางตรงกับส้นเท้าด้านหน้าChipเป็นลักษณะการเล่นที่ตั้งใจเล่นให้ลูกลอย 2 ระดับคือ ต่ำ กับปานกลาง ไม่ลอยโด่งซึ่งถือเป็นลูก Lob หรือ Flop ดังนั้นลักษณะของหน้าไม้จึงค่อนข้างอยู่ข้างหลังมือขณะอิมแพ็คและฟอลโลทรูค่อนข้างต่ำเพื่อต้องการให้ลูกลอยไม่โด่งมาก โดยปกติเมื่อลูกตกบนพื้นกรีนแล้วจะวิ่งเล็กน้อยไม่วิ่งมากนักเพราะหากวิ่งมากกว่าระยะที่ลอยก็จะเป็นลักษณะของลูก Chip-and Run การลากไม้ออกไปและส่งผ่านไปเพียงเล็กน้อยนั้น ทำให้เกิดเป็นข้อแตกต่างจากการ Pitch ซึ่งจะลากและส่งยาวมากกว่า
Chip-and-Run
ลักษณะช่วงระยะการวิ่งของลูกหลังจากที่ตกพื้นแล้วจะยาวมากกว่าระยะที่ลอยมา ด้วยลักษณะรูปแบบนี้ทำให้ตำแหน่งของลูกจะอยู่นอกเท้าขวาเพราะยิ่งลูกอยู่นอกร่างกายทางด้านขวามากเท่าใด การลากไม้สวิงก็ยิ่งได้น้อยมากเท่านั้น เมื่อหัวไม้เคลื่อนน้อยทำให้มีระยะการส่งที่ยาวขึ้นเป็นลักษณะ “ ลากสั้นดันยาว ” ทำให้ลูกลอยต่ำและวิ่งยาวมากกว่า ทำให้ง่ายในการควบคุมทิศทาง
เบสิคการเล่นลูกชิพ แอนด์ รัน
การยืนให้แคบ
ตำแหน่งลูกอยู่เท้าขวา
หน้าไม้ตั้ง มือจับกริพอยู่หน้าลูก
น้ำหนักตัวอยู่เท้าซ้าย
แบ็คสวิงข้อมือทำงานน้อย
ฟอลโล่ทรูเป็นทั้งชิ้น ไม่หักข้อมือ หลังมือหันไปทางเป้า
จังหวะการเล่นนุ่มนวล ราบเรียบ ลำตัวนิ่งจนกว่าจะหยุดนิ่ง
Putt-Chip
เป็นการพัตต์จากบริเวณนอกกรีนด้วยเหล็ก นิยมใช้เล่นกันในปัจจุบันเพราะง่ายและปลอดภัย การยืน การจับไม้การสโตรคลูกเหมือนกับการพัตต์ทุกประการ แม้กระทั่งการให้น้ำหนัก การเล่นลักษณะนี้สามารถควบคุมทั้งทิศทางและน้ำหนักได้ดีกว่าการเล่นแบบ Chip
ลูกชิพยาว
ควรเลือกหน้าไม้ที่มีองศาต่ำที่สุดจะส่งลูกลอยไปตกบนกรีนแล้วเริ่มวิ่งเข้าหาธงได้ทันทีที่สุด
การซ้อมชิพยาวๆ จนเกิดความแม่นยำแล้ว เหล็กสั้นและกลางของท่านก็จะแม่นยำขึ้นไปด้วย หากแต่ท่านต้องรู้จักซ้อมชิพให้เป็นการย่อส่วนลงมาของวงสวิงเต็ม จับไม้ให้สั้นจนเกือบถึงก้าน ยืนเล็งเหมือนกับวงสวิงเต็ม ไม่แนะนำให้นักกอล์ฟฝึกใหม่ยืนเปิดสักเท่าไหร่เพราะจะทำให้สับสน
จุดไกลสุดของแบ็คสวิงและจุดขบของวงควรมีระยะที่เท่ากันเพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้ยั้งมือตอนจะตีลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักกอล์ฟมือใหม่พลาดมากที่สุด หากต้องการตีให้สั้นลงไม่ใช่ยั้งมือให้เบาลง ซึ่งสิ่งที่เราต้งอการสำหรับการชิพที่แน่นอนและแม่นยำคือการเร่งส่งหน้าไม้ไปที่เป้าหมายเหมือกับท่านจะตัดหญ้าบนพื้นให้ขาดในการเหวี่ยงทีเดียว ที่สำคัญคือขอให้มือท่านำหน้าไม้ตลอดเวลา
เลือกหน้าไม้ที่มีองศาต่ำที่สุด จะส่งลูกลอยไปตกบนกรีนแล้วเริ่มวิ่ เข้าหาธงได้ทันที
วงหาย
วงหาย***ก่อนอื่นต้องเช็ค การจับกริ๊ฟ และ ท่ายืนจรดลูก เสียก่อน ถ้าทั้งสองอย่างไม่มีปัญหา ( มั่นใจได้ว่าท่านไปได้รับ กอล์ฟทิปส์อะไรมาสักอย่างและไปเพ่งทำอยู่กับตรงนั้นมากเกินไปจนลืมเบสิคสำคัญเรื่องของการหมุนเอว ) “ ลองหมุนเอวทั้งแบคสวิง และดาวน์สวิงแล้ววงของท่านจะกลับมาเอง ”
1. เทคนิคการหมุนเอว ขอให้นึกถึงการหมุนสะดือของท่านมาทางขวาจนน้ำหนักถูกถ่ายมาที่ส้นเท้าขวาและหมุนสะดือกลับจนชี้ไปที่เป้าหมาย และน้ำหนักถูกถ่ายกลับมายังเท้าซ้าย
2. ในการเริ่มต้นแบคสวิง คือ ให้ท่านหมุนกระเป๋าขวา ( กระเป๋าหลัง ) จนเกือบชี้ไปยังเป้าหมาย
ไม่ว่าท่านจะใช้วิธีใดก็ตาม เน้นว่า ต้องเป็นการ “ บิด ” หรือ “ หมุน ” เอา ไม่ใช่โยกถ่ายน้ำหนักกลับไปมาระหว่างเท้า ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาการโยกเยกหรือ Sway และในที่สุดคือท่านจะตีลูกไม่แน่นอน
ที่มา http://www.egatgolf.egat.co.th/general/golftrip.html
จับกริพก่อนจรดไม้กอล์ฟ
กอล์ฟที่มีปัญหาในการจับกริพ ไม่ว่าจะเกิดจากการหงายฝ่ามือมากไปหรือปิดฝ่ามือจนแขนบิดขณะจรดไม้กอล์ฟนั้น ส่วนมากเกิดจากการฝึกขั้นพื้นฐานที่ละเลยการจับกริพให้ถูกต้อง ทำให้การพัฒนาฝีมือต่อไปยากขึ้นและสร้างปัญหาในการสวิงที่ร่างกายต้องชดเชยการหมุนจากหน้าไม้ที่เปิดหรือปิดเนื่องจากการจับกริพ
นักกอล์ฟที่เกิดปัญหานี้ มาจากการพยายามปรับการจับกริพในขณะที่ยืนจรดไม้กอล์ฟเพื่อชดเชยวิถีของลูกกอล์ฟที่ลอยออกไปผิดแนว เช่น สไลซ์หรือฮุค ด้วยการหงายหรือปิดฝ่ามือให้หน้าไม้เปิดหรือปิดตามไปด้วย ซึ่งการปรับการจับกริพนี้โดยปกติมักใช้เพื่อผลของวิถีลูกที่ต้องการเป็นบางครั้ง แต่เมื่อปฏิบัติจนเคยชิน ก็จะกลายเป็นการจับกริพที่เปิดหรือปิดฝ่ามือและหน้าไม้กอล์ฟมากเกินไป
วิธีการแก้ไขนั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขการจับกริพขณะที่ยืนจรดไม้กอล์ฟครับ ผมเห็นนักกอล์ฟหลายท่านพยายามจับหรือหมุนฝ่ามือเพื่อปรับการจับกริพหลังจากยืนจรดไม้กอล์ฟเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้หน้าไม้กอล์ฟหมุนตาม และยังทำให้การหมุนฝ่ามือนั้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือตำแหน่งของนิ้วต่างๆ และไม้กอล์ฟเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งที่เหมาะสม
เทคนิคก็คือให้ฝีกการจับกริพด้วยการถือไม้กอล์ฟให้ชี้ไม้กอล์ฟทั้งอันขึ้นด้านบน และจับกริพในแนวดิ่ง ซึ่งจะช่วยให้ตรวจสอบตำแหน่งของกริพ นิ้ว ฝ่ามือ และแขนได้ง่ายกว่า แล้วจึงนำไม้กอล์ฟชี้ออกไปด้านหน้าให้ขนานกับพื้นเพื่อตรวจสอบ แล้วจึงยืนจรดไม้กอล์ฟเป็นลำดับสุดท้าย
วิธีนี้ทำให้จับกริพให้ง่ายขึ้นและนอกจากนี้ยังลดปัญหาการเอื้อมมือขวาลงด้านล่างกริพและดึงไหล่ให้ตกลงมากเกินไป อันเป็นสาเหตุให้ไหล่และลำตัวเปิดขณะยืนจรดไม้กอล์ฟอีกด้วยลองสังเกตได้ง่ายจาก
นักกอล์ฟอาชีพส่วนใหญ่ จะจับกริพให้เรียบร้อยหลังจากเล็งแนวเป้าหมาย ก่อนยืนจรดไม้กอล์ฟที่ตำแหน่งลูกกอล์ฟ เพื่อป้องกันการขยับมือและทำให้หน้าไม้บิดออกจากแนวเป้าหมายที่เล็งไว้นั่นเองครับ นอกจากนี้หากไม่มั่นใจ ยังสามารถใช้วิธีนี้เช็คการจับกริพได้ตลอดเวลาอีกด้วยครับ ลองดูนะครับ รับรองว่าเมื่อคุณจับกริพได้มั่นใจ วงสวิงของคุณจะพัฒนาได้ดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ!
โปรโทนี่ มีชัย
ตีให้ตรงด้วยการสวิงไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมาย
ผมมักจะเน้นพื้นฐานในการสร้างวงสวิงที่ถูกต้องและสามารถพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
อยู่ 3 ข้อหลัก ๆ คือ
การจับกริพ
การเล็งแนวเป้าหมาย
และการจัดท่ายืนจดไม้กอล์ฟ ให้ถูกต้องอยู่เสมอ
ส่วนขั้นตอนต่าง ๆ ของการสวิงนั้นเริ่มต้นจากการเข้าใจกลไกของ วงสวิง
การทำงานของไม้กอล์ฟ ตัวเรานั้นเพียงสวิงไม้กอล์ฟให้เหมาะสม
วงสวิงที่ดีก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติในการเคลื่อนไหวของเราเองครับในการสวิงนั้น ผมจะเน้นถึงการคิดถึงเป้าหมายที่เราต้องการส่งลูกกอล์ฟออกไปเป็นหลัก หลังจากจับกริพ เล็งแนวเป้าหมาย และยืนจดไม้กอล์ฟให้ถูกต้องแล้ว
นักกอล์ฟควรมีสมาธิอยู่กับตำแหน่งเป้าหมายแล้วสวิงไม้กอล์ฟตามแนวที่เล็งไว้
ด้วยความคิดเสมือนเราจะสวิงไม้กอล์ฟเพื่อส่งไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมายนั้น
ความคิดในการสวิงไม้กอล์ฟไปที่เป้าหมายนี้ควรจะอยู่กับเราตลอดขั้นตอนการสวิง
ตั้งแต่เริ่มต้นจดไม้กอล์ฟจนถึงจบวงสวิงครับ
นักกอล์ฟที่มีปัญหาในการสวิงไม้กอล์ฟออกนอกแนวเป้าหมายที่เล็งไว้
ผลก็คือ วิถีและทิศทางการลอยออกไปของลูกกอล์ฟจะออกนอกแนวเป้าหมาย
ตามไปด้วย ทั้งการเลี้ยวไปทางใดทางหนึ่งในลักษณะต่าง ๆ หรือพุ่งตรงออกไป
คนละทิศทางกับการเล็ง ซึ่งหากสวิงหลุดออกนอกแนวเป้าหมายที่เล็งไว้
รวมกับข้อผิดพลาดที่เกิดจากขั้นตอนพื้นฐาน เช่น การจับกริพ การยืน
หรือการเล็งแนวเป้าหมายที่ไม่เหมาะสมแล้ว
ผลงานก็จะยิ่งเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้นไปอีกครับ
ขั้นตอนพื้นฐาน และแนวคิดในการสวิงที่เรียบง่ายเช่นนี้
จะทำให้นักกอล์ฟสามารถตั้งสมาธิอยู่กับเกมการเล่นและการสวิงที่ดีได้ง่ายขึ้น
ตามแนวคิดในการใช้หลักสูตรการสอนกอล์ฟจากหลักธรรมชาติของฮาร์ทแลนด์ กอล์ฟ
สคูลส์ที่ผมเน้นอยู่เสมอ ลองนำไปฝึกฝนและตรวจสอบการสวิงให้อยู่ในแนวเป้าหมายเสมอ
รับรองว่าผลงานจะดีขึ้นอย่างแน่นอน...เชื่อผม นะครับ !.
การทำ พรีช็อตรูทีน
1. เริ่มต้นด้วยการยืนมองจากหลังลูกและวาดเส้นในใจไปหาเป้าหมาย ให้นึกภาพนี้ไว้ในใจ
2. จากจุดที่ยืนอยู่หลังลูก สิ่งที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือการวาดภาพการสวิงของท่าน เช่นกันครับ ให้นึกภาพนี้ไว้ในใจ
3. จากนั้น ให้ยืนในท่าพร้อมเตรียมตีและนึกภาพเหล่านั้น และสวิงไม้กอล์ฟของท่านไปยังเป้าหมาย ครับและเคล็ดลับนี้จะช่วยให้ทุก ๆ ช็อตของท่านนั้นพัฒนาขึ้น
เชื่อผมว่าการเรียนรู้ในวงสวิงที่ถูกต้องบวกกับการเรียนรู้ที่จะนึกภาพ ที่ถูกต้องไว้ในใจ จะทำให้ท่านตีกอล์ฟได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน.
การทรงตัวดี
การทรงตัวดีขึ้นอยู่กับความตั้งใจจดจ่ออยู่ที่ลูกขณะขึ้นไม้ และการถ่ายเทน้ำหนักตัวจากเท้าขวาไปซ้ายขณะลงไม้ ท่านควรเล็งลูกด้วยความตั้งใจขณะขึ้นไม้อย่างบรรจง ทิ้งน้ำหนักตัวลงไปบนเท้าขวา ขณะลากไม้ออกห่างไปด้านหลังลูก ช่วง 6 นิ้วแรกของการขึ้นไม้เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของการสวิง ซึ่งจะช่วยให้ท่านมีการทรงตัวดีตลอดวงสวิง
การพัตต์ มีแบบฝึกง่ายๆสำหรับนักกอล์ฟทุกท่านที่มีปัญหาสโตรคพัตต์ที่ไม่ได้น้ำหนัก
ให้ลองนับจังหวะ "หนึ่ง-สอง"ในใจ โดยระยะการขึ้นไม้และฟอลโล่ว์ทรูต้องเท่ากัน
คล้ายการแกว่งตุ้มนาฬิกาจะช่วยให้การพัตต์นิ่มนวลและสม่ำเสมอมากขึ้น
อย่าพยายามสโตรคพัตต์แบบกระแทก
ถ้าให้ดียิ่งขึ้นเมื่อพัตต์เสร็จควรนับ 1-2-3 ในใจแล้วค่อยมองลูก
จะทำให้ลูกวิ่งตรงเข้าหาหลุมอย่างมั่นคง
การชิพลูก
โดยโปรป๋อง
ในการชิพลูกนั้น มีองค์ประกอบในการเล่นที่สำคัญๆ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ
และความเสมอต้นเสมอปลายของการเล่นช้อทนี้ อยู่อย่างน้อยสี่ถึงห้าจุด
ที่ผมจะฝึกให้ลูกศิษย์จำให้ได้และทำให้ถูกเสมอ และจะขอแนะนำเทคนิคนี้
โดยสังเขปให้ทุกคนที่สนใจที่จะปรับปรุงการเล่นของตนเองได้นำไปฝึกซ้อมดังนี้:
ภาพที่ 1: การเซ็ทอัพ
ภาพที่ 2: การสวิง
1: การเซ็ทอัพ
A. ตัว และน้ำหนักตัว ส่วนใหญ่อยู่หน้าลูก
B. ตั้งสมาธิอยู่ที่หน้าอก ไหล่ แขน ที่ประสานกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
C. ข้อมือทั้งสองตรง
D. น้ำหนักตัวตกลงที่เข่าและข้อเท้าซ้าย ขาซ้ายต้องมั่นคง เป็นฐานรองรับการสวิง
2: การสวิง
A. ตัว และน้ำหนักตัว ส่วนใหญ่อยู่ที่เดิม
B. หน้าอก ไหล่ และแขน สวิงผ่านลูกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
C. ข้อมือทั้งสองตรงและแข็ง ไม่มีการหักหรือพลิก
D. น้ำหนักตัวตกลงที่เข่าและข้อเท้าซ้ายเหมือนเดิม ขาซ้ายไม่ได้ขยับเลย
E. หน้าเหล็กเปิดหงายขึ้นฟ้า เพื่อควบคุมให้เหล็กสัมผัสลูกด้วยลอฟท์สูงสุดของมัน และลูกที่ออกไปมีแบ็คสปินสูงสุด
นั่นคือสิ่งที่ผมคิดถึงทุกครั้งที่ผมชิพลูก และสอนลูกศิษย์ของผมให้ทำได้อย่างสม่ำเสมอ ผมหวังว่าทิปนี้จะช่วยให้คุณควบคุมลูกชิพของคุณได้ดียิ่งขึ้นอย่างมากทีเดียว ความเชี่ยวชาญในการชิพลูกคืออาวุธสำคัญที่จะช่วยให้นักกอล์ฟลดสกอร์ได้มากทีเดียว...
ลูกสไลซ์
ลูกออกไปทางซ้ายของแนวเป้าหมาย แล้วจึงเลี้ยวกลับไปจบทางด้านขวาของแนวเป้าหมาย
ให้คุณตรวจสิ่งต่อไปนี้
การเล็ง : หน้าไม้ของคุณต้องไม่เปิดมากไป
กริพ : มือทั้งสองของคุณอาจบิดไปทางด้านซ้ายของด้ามไม้มากเกินไป ซึ่งเรียกว่าเป็นกริพแบบ Weak ทำให้ขณะที่คุณสวิงผ่านลูก หน้าไม้ของคุณจะเปิด
ตำแหน่งของลูก : ตำแหน่งลูกของคุณตอนที่คุณจรดลูกนั้นอาจอยู่ทางด้านหน้ามากเกินไป ทำให้ไหล่ของคุณเปิดตั้งแต่แรก
ความกว้างของเท้า : คุณอาจยืนแคบเกินไป ทำให้ขณะที่สวิงคุณยืนไม่มั่นคง ทำให้ขณะที่สวิงคุณใช้แขนมากเกินไป สะโพกทำงานน้อย
การจัดร่างกาย : เท้า สะโพก และไหล่ของคุณ อาจชี้ไปทางซ้ายของแนวเป้าหมายอย่างมาก ทำให้คุณสวิงไม้เป็นแนวจากด้านนอกเข้าด้านใน คือแนว out-to-in
ท่ายืน : คุณอาจยืนไกลลูกมากเกินไป
การสวิง : เป็นไปได้ว่าขณะที่ถอยไม้ขึ้น คุณเปิดหน้าไม้เร็วเกินไป หรือคุณถอยไม้ออกนอกแนวเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้สะโพกของคุณหมุนไม่พอ
กลเม็ดการแก้ลูก Slice เป็น Draw อย่างสวยงาม!
ลูกที่โปรส่วนใหญ่ปรารถนามากที่สุดก็คือลูก Draw เนื่องจากเหตุผล
มากมายก่ายกอง แต่ตัวที่สำคัญที่สุดคือป้องกันไม่ให้มัน Slice
ซึ่งจะน่าเกลียดและเสียหายมากนั่นเอง เรามาลองฝึกสั่งลูกให้ไกล
และ Draw เพื่อป้องกันลูกกล้วยหอมกันเลยดีกว่าครับ
เริ่มด้วยการจับกริพให้ Strong เล็กน้อย แรงบีบกริพเบา (Firm แต่ไม่แน่น)
ลากไม้ขึ้นให้ยาวตามธรรมชาติ
ศอกซ้ายที่ตำแหน่ง 10 น. (ศีรษะคุณคือ 12 น.) งอเล็กน้อย เพื่อลด Tension
(ซึ่งจะสูงถ้ายันให้ตึง) เพื่อไม่ให้เกิดการตีจากข้างบนและเสียอัตราเร่ง
ของวงและการทรงตัว และเพื่อให้เกิด Swing Speed ที่สูงในขณะตี
ไหล่และลำตัวหมุนจนถึงมุม 90 องศา (กับแนวลูก) อย่างนิ่มนวล
ลงไม้ให้มือเคลื่อนที่ใกล้ตัว
หน้าไม้ Impact ลูก ที่ด้านใน คือตำแหน่ง 4 น.
(ขณะที่ตำแหน่ง 6 น. อยู่ใกล้ตัวคุณ และ 12 น. อยู่ตรงข้ามตัวคุณ)
สวิงด้วยความรู้สึกว่าคุณกำลัง โยน หัวไม้ผ่านลูก
พร้อมด้วยความเกร็งของกล้ามเนื้อที่น้อยที่สุด
ลองฝึกทำให้คล่องนะครับ แล้วคุณจะพบว่าตัวเองตีตรงขึ้นมาก ไกลขึ้น,
Draw ได้, โอกาส Slice ลดน้อยลง จนถึงไม่เหลือเลย
โปรกอปรเชษฐ ตยัคคานนท์